เมื่อฤดูฝนอย่างกรายมาถึงพระภิกษุทั้งหลายก็อยู่จำพรรษาตามพุทธบัญญัติ มิได้ออกเที่ยวจาริกที่ใดๆๆได้ตามปกติเป็นเวลานาน 3_เดือน ครั้นวสันตฤดูผ่านพ้นภิกษุในพระเชตะวันมหา
วิหารก็พร้อมที่จะเดินทางออกไปเผยแผ่พุทธธรรมดังที่เคยกระทำต่อเนื่องกันมา
อีกครั้ง พระสารีบุตรเถระอัครสาวกของพระพุทธศาสดาก็เช่นกัน
พระสารีบุตรปรารถนาที่จะจาริกโปรดชาวบ้านเมื่อผ่านพ้นการอยู่จำพรรษา
ปรารถนาแรกเมื่อผ่านพรรษานี้ก็คือการจาริกออกไปยังทักขิณาคีรีทิศใต้ของนคร
สาวัตถี
เพื่อนำพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ไปโปรดนิคมห่างไกลให้พ้นทุกข์
การเดินทางครั้งนั้นพระสารีบุตรมีสิทธิ์ติดตามไปด้วย
ซึ่งเป็นภิกษุผู้ประพฤติเรียบร้อย
ชาวชนบททักขิณาคีรีซึ่งก็คือจุดหมายในการออกจาริกในครั้งนี้นี่เอง
พระสารีบุตรมีศิษย์ผู้คอยปรนนิบัติออกติดตามในการเดินทางออกจาริกไปยังทักขิณาคีรี
“จากตรงนี้แล้ว เราจะไปทักขิณาคีรีทางใดกัน” “ศิษย์รู้จักเส้นทางแถวนี้ดี จะนำทางพระอาจารย์ไปเองนะขอรับ” ศิษย์
ผู้นี้ปรนนิบัติดูแลพระสารีบุตรอย่างเคารพนอบน้อมมาตลอดทาง
ดังที่เคยปฏิบัติมาในพระอารามเชตะวัน “เส้นทางนี้ขรุขระเดินลำบากยิ่งนัก
ให้ศิษย์ถือของให้เถอะขอรับพระอาจารย์”
จนจาริกล่วงมาจนถึงชนบทชายแดนแคว้นโกศลอย่างตั้งใจ
พระสารีบุตรออกจาริกโดยการนำทางของภิกษุผู้ติดตาม
กริยาอาการการของภิกษุผู้ติดตามพระอัครสาวกก็เปลี่ยนไป “ท่านนะรีบๆ
เดินเข้าเถิด จะได้ถึงที่หมายเร็วๆ ผมนะเหนื่อยเต็มทนแล้วน่ะ”
(ศิษย์ชาวนิคมนี้ไม่สำรวมแล้วเพราะเหตุใดกันนะ)
“เหตุใดเล่าท่านจึงมุ่งหน้าเข้าพงเข้ารกอีก
เขตนิวาสบ้านชาวนิคมนะอยู่ทางโน้น....เฮ้อ” “อ้อ....เป็นทางนี่หรอกรึ”
“ก็ใช่นะสิ นี่ทางเข้าก็เห็นๆ กันอยู่ นี่ไงละท่าน
ภิกษุผู้ติดตามมีอาการไม่สำรวมเมื่อเข้าเขตนิวาสบ้านชาวนิคม
มาเถอะ ผมจะพาท่านไปยังธรรมศาลา จะได้แสดงธรรมให้เสร็จๆ ซะที ไม่รู้ทางแล้วยังจะเดินนำอีก” พระ
สารีบุตรแสดงธรรมโปรดชาวชนบทชายขอบแคว้นโกศลที่แห่งนั้น
จนได้เวลาสมควรแล้วก็เดินทางกลับ “โอ้ย..ต้องเดินทางกลับอีกแล้ว
เมื่อยล้าเต็มทนแล้วนี่” แต่เมื่อพ้นชนบทเขตบ้านเก่าออกมา
ภิกษุผู้เป็นศิษย์ก็กลับมาสู่พระอาการเป็นปกติ
พระสารีบุตรเดินทางกลับจากเขตนิวาสชาวนิคมพร้อมภิกษุผู้ติดตาม
ด้วยกริยาที่นอบน้อมดังเดิม “เดินระวังๆ นะขอรับพระอาจารย์ ทางลาดชันมาก”
(ศิษย์ผู้นี่กลับมานอบน้อมดังเคยแล้ว น่าแปลกจริงๆ)
อีกหลายวันต่อมาศิษย์ที่เคยก้าวร้าว ก็ยังเรียบร้อยเป็นปกติ
มิได้เย้อหยิ่งถือดีเหมือนที่เคยกระทำในชนบทพิสัยนั้นแม้แต่น้อย
“ธรรมข้อนี้ ศิษย์พิจารณาแล้วยังไม่รู้แจ้งซะที
พระอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยเถอะขอรับ”
ภิกษุผู้ติดตามมีนิสัยนอบน้อมสำรวมดังเดิมเมื่อพ้นชนบทเขตบ้านเก่ากลับมาถึงยังพระอาราม
(ล่วงมาบัดนี้ก็ผ่านมาตั้งหลายวัน ศิษย์ผู้นี้ก็ยังนิสัยนอบน้อมอย่างเคย
เอ้....แล้วตอนจาริกเผยแผ่พระธรรม ไฉนจึงประพฤติแปลกไปเช่นนั้นละ)
ความเป็นไปดังนี้คือข้อสงสัยภายในจิตใจของพระสารีบุตรเถระอยู่ตลอดเวลา
“อือ...เพราะเหตุใดกันนะ อะไรที่ทำให้ศิษย์ผู้นี้ประพฤติผิดแผกไป” จนได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์คราวหนึ่ง
พระสารีบุตรมีข้อสงสัยภายในใจเกี่ยวกับศิษย์ของตนเป็นยิ่งนัก
พระอัครสาวกได้นำข้อสงสัยนี้ขึ้นทูลถวายเพื่อให้ทรงไขปริศนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสดับแล้ว
จึงโปรดพระสารีบุตรและหมู่สงฆ์ในพระวิหารว่า
“ชนหมู่ใดเมื่อระลึกรู้ถึงความสำคัญที่ตนมีต่อผู้อุปการะดูแลตน
เมื่อถึงวาระใช้ความสำคัญนั้นแล้ว มิได้ยำเกรงดังเคยผู้นั้นไร้ธรรม
ดังนันทะทาสในอดีตชาติหนึ่งเย้อหยิ่ง วาระที่ผู้เป็นนายจำเป็นต้องพามาก่อน”
พระสารีบุตรได้นำข้อสงสัยขึ้นทูลถวายเพื่อให้พระพุทธองค์ทรงไขปริศนา
เมื่อได้ฟังดังนั้นพระสารีบุตรจึงอาราธนาขอให้พระพุทธองค์ทรงโปรดเล่าชาดก
นันทะทาสอันกระทำดังเดียวกับผู้เป็นศิษย์กระทำไว้
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงระลึกชาตินั้นด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณ
แล้วตรัสเล่านันทชาดก ดังนี้ ในพาราณสี นครใหญ่แห่งแคว้นกาสี ยังมีเศรษฐีชราผู้หนึ่ง เพิ่งมีบุตรกับภรรยารุ่นสาว
นครใหญ่แห่งแคว้นกาสีซึ่งตั้งอยู่ในเมืองพาราณสี
ยิ่งบุตรโตขึ้นเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งทุกข์ใจด้วยความเป็นห่วงบุตรมากเท่านั้น
“อีกหน่อยพอเราตาย ภรรยาก็คงหาสามีใหม่ มาผลาญทรัพย์สินจนหมดแน่ๆ เฮ้อ..”
“ท่านพ่อๆ มาเล่นกันๆ” “โธ่ลูกชายของพ่อ
พ่อต้องหาทางเก็บทรัพย์สมบัติไว้ให้เจ้าโดยปลอดภัยซะแล้ว”
เศรษฐีผู้คิดการณ์ไกลเรียกหา นันทะ
ทาสบุตรชายคนเก่าแก่ของตระกูลมาเก็บเงินทองใส่หีบไว้ได้เป็นจำนวนมาก
เศรษฐีชราผู้มีภรรยาสาวและมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน
“นันทะ เจ้าจงเอาหีบสมบัติเหล่านี้ไปฝังไว้เถิด
เมื่อบุตรของเราเติบโตขึ้นเจ้าค่อยมอบมันให้เขาเพื่อเป็นทุนค้าขาย”
“ได้ขอรับ ท่านเศรษฐีข้าจะเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีเลย” “ดีมาก
แล้วเจ้าอย่าบอกเรื่องนี้กับใครละ จนกว่าบุตรชายเราเติบโตเป็นหนุ่ม” “ขอรับ
ข้าจะเก็บเป็นความลับ ขอรับท่านเศรษฐี”
“เจ้าต้องช่วยดูแลให้เขาเติบโตเป็นคนดี มีศีลธรรมและขยันหมั่นเพียร
เศรษฐีชราให้นันทะทาสนำสมบัติของตนไปฝังไว้ยังที่ปลอดภัย
เพื่อรักษาทรัพย์ไว้ เราจะได้ตายตาหลับ” “ท่านเศรษฐีอย่าห่วงเลย
ข้าน้อยจะดูแลนายน้อยเป็นอย่างดี ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม
แผลแม้แต่น้อยนิดก็จะไม่ให้มี แม้แต่ไฝเม็ดเดียวก็จะไม่ให้ขึ้น”
“ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก” ต่อมาไม่นานเศรษฐีชราก็ตายจากไป ทิ้งภรรยาสาวให้เลี้ยงดูบุตรต่อไป “โธ่ลูกแม่ พ่อเจ้าจากเราไปเสียแล้ว”
เศรษฐีชรากำชับนันทะทาสให้เฝ้าดูแลสมบัติเพื่อเก็บไว้ให้ลูกชายของตน
“ท่านแม่อย่าเสียใจไปเลย ลูกจะดูแลท่านแม่แทนท่านพ่อเอง”
นันทะทาสรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับท่านเศรษฐี
คอยดูแลรับใช้นายน้อยจนเติบใหญ่ขึ้นตามวัย
“แม่จ๋าลูกโตพอที่จะรับเอาทรัพย์ของพ่อมาดูแลหรือยังจ๊ะ” “ยังหรอกจ๊ะ
เอาไว้เจ้าโตเป็นหนุ่มก่อนเถิด”
วันคืนผ่านไปนายน้อยของนันทะทาสก็เจริญวัยเป็นหนุ่มฉกรรจ์
เศรษฐีชราได้ตายจากไปทิ้งให้ภรรยาสาวเลี้ยงลูกชายตามลำพัง
ได้ร่ำเรียนศิลปะศาสตร์การพาณิชย์จนเป็นที่พอใจของมารดา
และแล้ววันสำคัญแห่งตระกูลก็มาถึง “ลูกเอ๋ย เจ้าให้คนเรียกลุงนันทะมาเถิด
ถึงเวลาแล้วที่ต้องขุดสมบัติของพ่อเจ้าขึ้นมาใช้”
“ห๊า..ขุดสมบัติหรือท่านแม่ ทำไม ไม่เห็นลูกรู้ความลับเรื่องนี้เลย”
“พ่อเจ้าสั่งลุงนันทะเอาไว้ ว่ารอให้ลูกโตก่อนถึงจะบอกนะจ๊ะ ไปเถอะ
เจ้าไปเรียกลุงนันทะมาเถิด”
บุตรชายเศรษฐีโตเป็นหนุ่มและได้ร่ำเรียนศิลปะศาสตร์การพาณิชย์จนเป็นที่พอใจของมารดา
“นายหญิงเรียกข้าน้อยมา มีอะไรหรือขอรับ”
“เราจะให้เจ้าพาลูกชายของเราไปยังที่ฝังทรัพย์
ขุดสมบัติเหล่านั้นให้เขามาดูแลเองซะที” “ได้ ขอรับ”
“ต้องรบกวนลุงนันทะด้วยนะ” “ยินดี ขอรับนายน้อย ข้าน้อยจะดูแลอย่างดี”
“ลุงนันทะ เรานะเริ่มเดินทางพรุ่งนี้เช้าเลยแล้วกัน
ท่านเตรียมตัวให้พร้อมนะ” “ได้เลย ขอรับนายน้อย
ข้าน้อยเฝ้าดูแลทรัพย์สมบัติเหล่านั้นนานแล้ว
ภรรยาเศรษฐีบอกถึงเรื่องสมบัติที่บิดาเก็บไว้ให้แก่บุตรชายของตน
รอคอยวันที่นายน้อยจะเติบโตเป็นหนุ่ม ยินดีจริงๆ
ในที่สุดก็ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับท่านเศรษฐีจนสำเร็จ”
“เมื่อเราขุดสมบัติขึ้นมาแล้ว วานลุงนันทะ จัดคนไปขนมาเก็บด้วยเถอะนะ”
“ได้ขอรับ นายน้อย” เมื่อได้
เวลา นันทะทาสก็นำจอบ เสียม
เครื่องมือขุดกับเสบียงเล็กน้อยมารับทายาทเศรษฐีไปสู่หมู่บ้านที่เคยนำ
สมบัติไปฝังไว้ด้วยกริยาสุภาพเป็นปกติ
บุตรชายเศรษฐีเรียกนันทะทาสเข้ามาสอบถามเรื่องสมบัติที่บิดาเก็บไว้ให้ตน
ถึงชายป่าตรงโน้น ข้าน้อยจะจัดอาหารให้ขอรับนายน้อย”
(นันทะทาสคนนี้ช่างดีจริงๆ ดูแลปรนนิบัติเราอย่างดี
ต่อไปเราจะต้องเลี้ยงดูเขาให้มีความสุข บริวารเช่น
นี้หายากยิ่งนัก) “เตรียมเดินทางต่อเถอะขอรับ
นิคมที่ฝังสมบัติท่านเศรษฐีไว้ยังอีกไกล” จนแดดยามบ่ายคล้อยลง
ทั้งสองนายบ่าวก็เดินเข้าสู่เขตหมู่บ้าน
“ถึงหมู่บ้านที่ฝังสมบัติแล้วขอรับ”
บุตรชายเศรษฐีและนันทะทาสออกเดินทางไปยังที่ฝังสมบัติ
“ท่านพ่อกับลุงนันทะ มาฝังซะไกลเลยนะครับ” ทันที่เดินผ่านหลักเขตศิลา
นันทะทาสก็มีอาการเปลี่ยนไป “โอ้ย..เหนื่อย เอา เจ้าเอาไปแบกไปคอนซะมั่งซิ
จะได้รู้รสชาติการทำงานหนักบ้าง เร็วๆ รับไปเร็วๆ อย่าให้มีน้ำโหนะ”
(เอะ..นี่ลุงนันทะเป็นอะไรไปนี่) นันทะทาสเมื่อแสดงอาการหยาบกระด้างแล้ว
ก็ไม่ยอมเลิกรา กลับลำเลิกบุญคุณและพูดจาตะคอกขู่เข็ญอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
นันทะทาสเตรียมอาหารให้บุตรชายเศรษฐีในระหว่างพักการเดินทาง
“เฮอะๆๆ อยากได้สมบัติก็ขุดเอาเองเลย ข้าจำไม่ได้แล้วละว่า
มันฝังเอาไว้ตรงไหน ฮ้า ฮ่าๆๆ อยากได้ก็หาเองแล้วกัน” “เฮ้อ
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หยุดค้นหาเถอะ”
หนุ่มทายาทเศรษฐีประหลาดใจในกริยาของนันทะทาสเป็นอย่างมาก
เพราะทันทีที่สั่งการขุดหาทรัพย์ ความอวดดีหยาบกระด้างก็หยุดลงด้วย”
“ได้ขอรับ นายน้อย เก็บของกลับเลยนะครับ นายน้อยหิวหรือยัง
ข้าน้อยจะได้หาอาหารมาให้”
บุตรชายเศรษฐีและนันทะทาสเดินทางมาถึงยังเขตหมู่บ้านนิคม
เมื่อเดินทางพ้นหมู่บ้านนิคมนั้น นันทะทาสก็นอบน้อมพูดจาไพเราะเหมือนเดิม
กลับมาสู่บ้านก็ปรนนิบัติดูแลเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น “นายน้อย น้ำ ขอรับ
ข้าน้อยผสมกับน้ำผึ้งไว้ หอมหวานชื่นใจขอรับ”
“มาแย่งงานเราดูแลนายน้อยตลอดเลย มันน่านัก” “อย่าบ่นน่า เจ้าก็มีเหมือนกัน
ข้าเก็บไว้ให้ในครัวแล้ว” (ผ่านมาหลายวันแล้ว ลุงนันทะคงหายเครียดแล้วละมั่ง ลองชวนไปขุดสมบัติอีกดีกว่า)
นันทะทาสแสดงกิริยาวาจาหยาบคายต่อผู้บุตรเศรษฐีผู้เป็นนายตน
“ลุงนันทะ พรุ่งนี้เราไปขุดสมบัติของท่านพ่อกันเถอะ” “ได้ขอรับนายน้อย ข้าน้อยจะเตรียมของให้เรียบร้อย” และ
แล้วทุกสิ่งก็เป็นเช่นเดิม คือเมื่อเดินทางไปถึงบริเวณซึ่งฝังสมบัติไว้
นันทะทาสก็ทำตัวเหมือนเป็นศัตรู มิได้ให้เกียรติยำเกรงดังเคย
“เดินเร็วหน่อยซิ ชักช้าอยู่ได้ หาเองแล้วกันสมบัตินะ อยากได้ก็หาเอง”
นันทะทาสดูแลปรนนิบัติบุตรชายเศรษฐีด้วยความนอบน้อม
หนุ่มน้อยจนปัญญาที่
นำทรัพย์สินของบิดามาประกอบอาชีพได้
เพราะไม่รู้เหตุแห่งการก้าวร้าวของนันทะทาส (เอ้..ลุงนันทะเนี่ย
ประพฤติแปลกไปอีกแล้วนะ
นี่เราจะทำยังไงดีเนี่ย..อ้อ..ไปปรึกษาบัณฑิตดีกว่า)
พลันเมื่อนึกถึงพราหมณ์บัณฑิตท่านหนึ่ง ทุกสิ่งก็ถูกไขปริศนาโดยง่ายดาย
“มานพเอ๋ย
เหตุดังนี้เป็นเพราะนันทะทาสถือว่าตนเป็นผู้เดียวที่รู้จุดฝังซ่อนสมบัติของ
นาย
บุตรชายเศรษฐีได้ชวนนันทะทาสไปขุดสมบัติอีกครั้ง
เมื่อตนไปถึงที่นั้น เกิดลำพองกล้าข่มขู่นายด้วยลืมตัว”
“อือ..ถ้าเป็นเช่นนั้น เราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ”
“เธอจงชักชวนเขาไปขุดทรัพย์นั้นอีกครั้ง หากนันทะทาสยืนอวดดี
กล่าวข่มขู่อยู่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละมีทรัพย์ฝังอยู่” “ดีจัง
อย่างงี้เราก็คงได้ทรัพย์สมบัติของท่านพ่อมาทำทุนค้าขายเสียที” ชายหนุ่มกราบขอบคุณบัณฑิตผู้ทรงปัญญา
บุตรชายเศรษฐีได้ปรึกษากับบัณฑิตเรื่องพฤติกรรมของนันทะทาสที่มีต่อตน
แล้วรีบนำนันทะทาสกลับไปนิคมที่ฝังทรัพย์ไว้ “รีบเข้าเถอะลุงนันทะ
วันนี้เราต้องขุดสมบัติมาให้ได้นะ” “ขอรับนายน้อย”
เมื่อผ่านเขตนิคมชนบทนั้นเข้าไปสักพัก ทันที่ที่นันทะทาสทำกริยาลำพอง
หนุ่มผู้เป็นนายก็ทำตามคำสอนของบัณฑิต “อ้อนวอนก่อนซิ
แล้วข้าถึงจะบอกว่าสมบัติอยู่ตรงไหน เฮอะ ฮ่าๆๆ” (เริ่มอวดดีอีกแหละ
แสดงว่าต้องอยู่ตรงนั้นแน่ๆ)
นันทะทาสแสดงกิริยาก้าวร้าวหยาบคายเมื่อถึงที่ฝังสมบัติของผู้เป็นนาย
“เอาล่ะเจ้าขุดสมบัติขึ้นมาสิ” “อูย...รู้ได้ยังไงละเนี่ย”
เมื่อขุดทรัพย์นำกลับบ้านมาหมดแล้ว ทุกอย่างก็คืนสู่สภาพเดิม
นันทะทาสไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือนายอีก
ก็กลับมาสุภาพเรียบร้อยเหมือนที่เคยเป็นมา
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อตรัสชาดกจบแล้วทรงมีอนุสติเป็นคาถาประจำชาติ
นี้ว่า
มัญเญ โสมัณณโย ราสิ โสวัณณมาลา จนันทโก
ยัตถ ทาโส อามชาโต ฐิโต ถูลาติ ตัชชติ
ทาสชื่อนันทะเป็นบุตรนางทาสี ยืนกล่าวคำหยาบในที่ใด
เรารู้ว่ากองแห่งรัตนทั้งหลาย และดอกไม้ทองมีอยู่ในที่นั้น
ในพุทธกาลสมัย นันทะทาส กำเนิดเป็น ภิกษุศิษย์พระสารีบุตร
บุตรเศรษฐี กำเนิดเป็น พระสารีบุตร
พราหมณ์บัณฑิต เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า