พระเจ้าพรหมทัตและพระนางมุทุลักขณา
สมัยพุทธกาลผ่านมาพระเชตะวันมหา
วิหารของพระบรมศาสดาร่มเย็นเป็นที่พึ่งพาของเวไนยสัตว์อย่างทั่วถึง
ดุจแสงจันทร์วันเพ็ญอันสว่างนวลทั่วปริมณฑล
แต่จันทร์กระจ่างฟ้าก็หาทำความรื่นรมย์ได้ทั่วทุกคนไม่
ยังมีภิกษุหนุ่มชาวสาวัตถีรูปหนึ่งกำลังกลัดกลุ้มอยู่กับความทุกข์ภายใต้แสงจันทร์นวลทุกราตรี
ภิกษุหนุ่มผู้ถูกความรักเข้าเกาะกุมหัวใจจนเกิดเป็นความทุกข์อย่างใหญ่หลวง
“โอ้นวลน้อง ความรักของพี่ที่มีต่อเจ้า ช่างทำให้พี่ทุกข์ใจยิ่งนัก กินไม่ได้นอนไม่หลับ นั่งสมาธิ(Meditation)
ก็วุ่นวายใจ เฮ้อ” สมณะกิจใดๆ ภิกษุหนุ่มก็ไม่ได้ปฏิบัติ
จนเพื่อนภิกษุทั้งหลายสุดจะทนเวทนาอยู่ได้
จึงนำสมณะสงฆ์รูปนี้มาเฝ้าพระบรมศาสดา
“ไปเฝ้าพระพุทธองค์เถอะท่านจะได้ปลดเปลื้องจากทุกข์นี้ซะที” “เป็นเธอนี่แล้วผู้กระวนกระวายรุ่มร้อนใจ ด้วยอำนาจความงามของหญิง
ความรุ่มร้อนใจทำให้ภิกษุหนุ่มไม่สามารถปฏิบัติสมณะกิจใดๆได้
สิ่งนี้ไม่ได้แปลกอันใด เพราะเธอยังไม่มีคุณวิเศษป้องกัน ในอดีตกาลก่อน เราได้อภิญญา 5_สมาบัติ 8_สามารถ
ข่มกิเลสได้ด้วยญาณ
ทั้งเหาะเหินบนฟ้าได้ก็ยังเคยพลาดพลั้งยังเผลอหลงใหลหญิงงาม
จนญาณสมาบัติเสื่อมสูญได้รับทุกข์ร้อนมาแล้ว กิเลสนั้นก็มีกำลังมากนัก
ดุจลมพายุถอนขุนเขา โค่นไม้ใหญ่
ภิกษุหนุ่มถูกนำตัวเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ทรงภูมิรู้ยังเพรี้ยงพร้ำแก่กิเลส ความผิดของเธอครั้งนี้จึงเป็นสิ่งธรรมดา ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัส มุทุลักขณชาดกขึ้น โปรดภิกษุทั้งหลายในพระเชตะวันดังนี้ มานพหนุ่มผู้หนึ่งเกิดในตระกูลดี มีสติปัญญาเลอเลิศ แต่ก็ค้นพบว่าสรรพวิชาที่เล่าเรียนมามิอาจช่วยผู้คนพ้นความทุกข์ได้
มานพหนุ่มผู้มีสติปัญญาเลิศออกเดินทางแสวงหาสัจธรรม
เขาจึงออกหาสัจธรรมไปยังที่ต่างๆ ทั่วชมพูทวีป
ท้ายที่สุดท่านได้ถือเพศพรหมจรรย์เป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ริมป่า
หิมพานต์จนได้สมาบัติแก่กล้า สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ และมักเหาะลงมาบิณฑบาตโปรด
ชาวนครพาราณสีอยู่เนืองๆ
ครั้งหนึ่งพระดาบสตนนี้ได้เหาะจากหิมพานต์เข้ามายังมหานครดังปกติ
“เอ้..วันนี้มีเหตุอันใดหนอจิตใจถึงร้อนรุ่มนัก “
มานพหนุ่มได้ถือเพศพรหมจรรย์เป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ริมป่าหิมพานต์
ครั้งนั้นยังมิทันบิณฑบาตก็ต้องรับนิมนต์จากราชบุรุษให้เข้าไปโปรดพระเจ้า
พรหมทัตยังพระราชฐาน “เชิญท่านฤาษีทางนี้เถอะ
พระเจ้าพรหมทัตทรงประทับรออยู่” “โอ้ดีจัง วันนี้เราจะได้ฟังธรรมกัน”
“ฟังธรรมรึ? ดีจัง ยังไม่เคยฟังมาก่อนเลย” “เจริญพร มหาบพิท”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสในศีลและประพฤติพรหมจรรย์ของท่าน
ปรารถนาในรสธรรมโอวาทยิ่งนัก”
ฤาษีได้เหาะจากป่าหิมพานต์มาบิณฑบาตยังนครพาราณสี
“หากท่านปรารถนาจะฟังธรรมเราก็ยินดี” พระ
เจ้าพรหมทัตถวายอาหารอันประณีต
แล้วจึงอาราธนาให้พระดาบสพำนักอยู่ในที่พระราชวังต่อไปอีกนานปี
“เพื่อเหล่าพระราชวงศ์หญิงชายและปวงอำมาตย์จะได้รับโอวาทอย่างใกล้ชิด
บัดนี้ข้าพระองค์ได้จัดอาศรมใหม่ไว้ในพระอุทยานแล้ว ขออาราธนาเป็นพระอาจารย์แก่ราชวงศ์สืบไปแต่วันนี้เถิด”
ราชบุรุษนิมนต์พระฤาษีไปโปรดพระเจ้าพรหมทัตในพระราชวัง
“ถ้ามหาบพิทต้องการอย่างนั้น เราก็คงขัดไม่ได้”
เมื่อพระฤาษีมาพำนักอยู่ในวัง
ก็เป็นที่เคารพนับถือของเหล่าราชนิกูลและข้าราชบริพาร
ด้วยท่านมีความรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมยากที่จะหาใครทัดเทียมได้ในยุค
นั้น “อือ..อุทยานนี่ช่างสงบเงียบดีจริงเหมาะแก่การนั่งสมาธิ
ให้โอวาทแล้วค่อยกลับมานั่งสมาธิดีกว่า”
พระฤาษีได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าพรหมทัตและเหล่าราชนิกูลพร้อมข้าราชบริพาร
“ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข ขณะที่สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้เพราะใจรวมเป็นอันเดียว ท่าน
พึงศึกษาความสามัคคีไว้เถิด ความสามัคคีนั้นท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
ผู้ยินดีในสามัคคีตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ”
“ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องปกครองคนในพาราณสีให้สามัคคีกันเอาไว้”
พระเจ้าพรหมทัตขอพรจากพระฤาษีเพื่อยกทัพไปชายแดน
“ต่อจากนี้ไปเราจะยึดหลักความสามัคคีไว้ในใจ”
อย่างเข้าฤดูแล้งคราวหนึ่งเมืองพาราณสีก็เกิดสงคราม
พระเจ้าพรหมทัตก็มากราบขอพรเพื่อยกทัพไปสงครามชายแดน
“มหาบพิทจงเผด็จศึกโดยดีเถิด จงเมตตาแก่ผู้แพ้ตามสมควรเถิดจะเกิดกุศลยิ่ง”
“ข้าพระองค์จะยึดหลักศีลธรรมตามที่ท่านฤาษีอบรม” พระเจ้าพรหมทัตได้รับสั่งให้พระนางมุทุลักขณาพระมเหสี
พระนางมุทุลักขณาได้ดูแลการจัดเตรียมอาหารถวายพระฤาษี
คอยดูแลเอาใจใส่พระฤาษีมิให้บกพร่องใดๆ แล้วก็ยกทัพออกจากนครไป
“เสด็จพี่อย่าทรงห่วงเลยเพคะ
หม่อมฉันจะดูแลพระฤาษีเป็นอย่างดีมิให้ขาดตกบกพร่อง”
ทุกวันพระนางมุทุลักขณาจัดเตรียมอาหารถวายพระดาบสอย่างดีมิได้ขาด
แต่แล้วก็เกิดเหตุใหญ่ขึ้นครั้งหนึ่ง
ในวันนั้นพระดาบสเข้าญาณจนลืมเวลานิมนต์
“ทำไม่พระฤาษีถึงยังไม่ออกมาฉันอาหารนะ”
พระนางมุทุลักขณาทรงทอดพระวรกายพักผ่อน ณ ท้องพระโรง
“คงนั่งสมาธิอยู่กระมังคะ” “ถ้าอย่างนั้นเราไปพักผ่อนก่อนนะ พวกเจ้าอยู่คอยรับใช้ก่อนแล้วกัน” “เพคะ” พระ
นางมุทุลักขณารอพระฤาษีอยู่นานก็ยังไม่มา
พระนางจึงทอดพระวรกายพักผ่อนอิริยาบถอยู่บนยี่พู่ ณ
ท้องพระโรงอยู่บริเวณเดียวกัน “เฮ้อง่วงจัง..นอนซักพักดีกว่า” แอ๊ส.ส..ส
“เอะ...เสียงอะไรนะ” “เหมือนมีใครเข้ามาทางพระบัญชรนะเพคะ”
พระฤาษีเหาะเข้ามาทางพระบัญชรโดยที่ไม่ทราบว่าพระมเหสีทรงพักผ่อนอยู่
เสียงนั้นคือพระฤาษีซึ่งเหาะเข้ามาทางพระบัญชรอย่างเร่งรีบ
พระมเหสีตกพระทัยจึงผุดลุกโดยเร็วภูษาแพรที่ห่มพระอุระก็หลุดลุ่ยลงอวดโฉม
แก่สายตาพระฤาษี “โอ๊ะ.ว๊ายผ้าหลุด” “ว๊าย..ตาเถน หลุดๆๆๆ”
ความงามแห่งอิสตรีนั้นก่อกวนญาณอันบริสุทธิ์ให้ดับวูบลง
กามราคะอันไม่เคยมีของผู้ทรงศีล กลับคุโชนขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็ว
พระฤาษีเดินกลับไปยังอาศรมของตนเพราะไม่สามารถใช้ญาณเหาะได้ดังเดิม
“โอ้..ช่างงดงามเหลือเกิน”
เมื่อรำลึกรู้ตัวพระดาบสก็หันกลับไปยังอาศรมอุทยานด้วยสองเท้า
มิสามารถใช้ญาณเหาะเหินได้ดังเดิม “แย่แล้วเราจะเป็นบาปหรือเปล่าก็ไม่รู้”
“ฮู...ท่านฤาษีหน้าซีดไปเลย” จาก
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระฤาษีไม่อาจลืมความงามของสตรีเพศได้เลย
ภาพนั้นมีฤทธิ์รุนแรงต่อจิตใจ จนพระฤาษีมิอาจรวบรวมสมาธิต่อต้านได้
พระฤาษีได้เกิดความรักขึ้นภายในใจต่อพระนางมุทุลักขณา
“น้องหญิงช่างสวยเหลือเกินภาพน้องช่างติดตาตรึงใจพี่
จนพี่ไม่อาจลืมเลือนได้แล้ว โอ้..นี่เราเป็นอะไรไปเนี่ย”
ยิ่งนานวันฤทธิ์พิศวาสก็รุมเร้าให้เฝ้าแต่เก็บตนเงียบในอาศรม
ร่างกายทรุดโทรม จิตใจระทมทุกข์จนหมดสง่าราศี
“ไฉนกามเทพบันดาลทุกข์แก่เราได้มหันต์ปานนี้
น้องหญิงเราจะได้ครองเธอเมื่อใดหนอ เมื่อใด” เวลาล่วงไป 7 วัน
พระเจ้าพรหมทัตทรงสอบถามถึงสาเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดต่อพระฤาษี
พระเจ้าพรหมทัตเสด็จกลับจากชายแดน
เมื่อเสร็จราชกิจจากท้องพระโรงก็เร่งเสด็จมากราบพระฤาษี
“โอ้..เกิดอะไรขึ้นทำไม่พระฤาษีถึงได้ซูบผอมอย่างนี้” “มหาบพิทกลับมาแล้วรึ
เรามีทุกข์หนักอันเรียกว่าความรักเกิดขึ้นในใจจึงเป็นดั่งนี้ มหาบพิท” เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงสอบถามสาเหตุที่กระทำต่อผู้ทรงศีล ก็ได้รับคำตอบอันสะเทือนใจยิ่ง
พระเจ้าพรหมทัตทรงวางแผนกับพระมเหสีเพื่อต้องการให้พระฤาษีมีสติกลับมาเหมือนเดิม
“เรื่องทั้งหมดเป็นความจริงเรามิสามารถพูดเท็จได้”
“ที่แท้ความความเจ็บปวดของพระอาจารย์เนี่ยเกิดเพราะหลงรักพระนางมุทุลักขณา
นี่เอง” “เป็นเช่นนั้น มหาบพิทจะลงโทษเช่นไรก็ได้ อาจารย์ก็ยอมสิ้น”
“หามีโทสะอนุโทษใดสำหรับท่านไม่” (โธ่เอ้ย พระฤาษีผู้ทรงคุณวิเศษ
บัดนี้ร่ำหาสตรีเสียแล้ว เราต้องช่วยท่านให้ได้)
พระเจ้าพรหมทัตทรงให้พระฤาษีมารับตัวพระมเหสีของตนไปอยู่ด้วย
พระเจ้าพรหมทัตนำเรื่องทุกข์ใจของท่านฤาษีมาปรึกษากับพระนางมุทุลักขณาพระ
มเหสี “รู้ไหมพระฤาษีกำลังทุกข์ใจกับความรักที่มีต่อเธอ
จนมิอาจรวบรวมสมาธิได้ดังเคย
พี่นะคิดอุบายที่จะทำให้ท่านกลับมาดังเดิมได้แล้ว
แต่อยู่ที่น้องหญิงจะช่วยหรือเปล่า” “เพราะน้องแท้ๆ
ที่ไม่ระวังตนให้ดีทำให้ตบะท่านเสื่อมไป
เสด็จพี่บอกมาเถอะว่าจะให้น้องช่วยอย่างไร
พระเจ้าพรหมทัตทรงถวายตัวพระมเหสีแบบลับๆ ต่อท่านฤาษี
น้องยินดีทำถวายทุกอย่างเพคะ” วัน
ต่อมาสองพระองค์ก็ทำตามแผนที่วางไว้
คือนิมนต์พระฤาษีมาเพื่อรับตัวพระมเหสีไปอยู่ด้วยกัน “ฟังพี่นะ
มุทุลักขณาน้องนะ ต้องทำตามแผนการให้ดี เพื่อคืนสติให้ท่านอาจารย์
ไปเถอะท่านมารออยู่แล้ว” (ในที่สุดความรักของเราก็สมหวัง น้องหญิงของพี่)
พระเจ้าพรหมทัตถวายพระมเหสีแก่พระดาบสเป็นการลับเฉพาะ
พระนางมุทุลักขณาทรงใช้พระฤาษีทำงานบ้านทุกอย่าง
ทั้งยังถวายบ้านเล็กๆ ให้ที่ริมกำแพงวัง “ไปกันเถิดน้องหญิง
น้องนางที่รักของข้า ไปครองเรือนกันพี่จะทำให้เจ้ามีความสุขที่สุด”
(สงสารจังแต่เราต้องทำให้พระฤาษีกลับมาเหมือนเดิมให้ได้)
“โอ๊ย..นี่บ้านหรือรังหนูนี่ สกปรกอย่างนี้น้องอยู่ไม่ได้หรอกนะคะ”
“ได้เลยจ๊ะ เดี๋ยวพี่จะทำความสะอาดให้เอี่ยมเลยจ้า” “งั้นก็เร็วๆ ซิจ๊ะ
น้องนะอยากพักผ่อน เหนียวตัวไปหมดแล้วเนี่ย อยากล้างตัวด้วย”
ผู้คนต่างพากันประหลาดใจในการกระทำของพระฤาษี
“จ้าๆๆๆ พี่จะยกน้ำไปให้เดี๋ยวนี้แหละจ้า” เมื่อ
ทำความสะอาดเรือนเสร็จพระฤาษีก็ถูกใช้ให้ไปขนเครื่องเรือนมาจากพระราชวังอีก
“โอ้ย..ขนมาตั้ง 3 รอบแล้วไม่หมดซะที เฮ้อ..เหนื่อย แต่เพื่อความรักของเรา
ทำได้” “พระฤาษีทำอะไรเนี่ย อันเนี่ยนะเหรอที่เค้าเรียกว่าปฏิบัติธรรม ช่างน่าขันยิ่งนัก” “เห็นแล้วหดหู่ใจ พระฤาษีคนเดิมหายไปไหนกันเนี่ย”
พระฤาษีขนเครื่องเรือนจากในวังมายังบ้านหลังเล็กด้วยความยากลำบาก
“เฮ้อ..เจ้าพวกนี้จะวิจารณ์เราไปถึงไหนเนี่ย เฮ้อ..รีบขนดีกว่า
ขี้เกียจจะได้ยิน”
พระฤาษีทำงานรับใช้พระนางมุทุลักขณาตั้งแต่เช้าจนตะวันใกล้อัสดง
“โอ้หลังจะหัก เตียงนอนน้องหญิงนี่หนักจริงๆ โอ้ย ทั้งหนักทั้งเหนื่อย
แต่ไม่เป็นไรเราต้องทนไว้
ใกล้มืดแล้วเดี๋ยวก็ถึงเวลาแห่งความสุขของเราแล้ว”
เมื่อตะวันตกดินพระดาบสก็ถูกไล่ไปอาบน้ำชำระกายให้สะอาดเหมือนมารดาบังคับ
บุตรน้อย
พระฤาษีได้ทวงสัญญาจากพระนางมุทุลักขณาหลังจากที่ตรากตรำงานมาทั้งวัน
ซึ่งท่านก็ทำตามโดยง่าย “น้องหญิงพี่อาบน้ำเสร็จแล้ว ถึงเวลาของเรารึยัง
มามะ” “ถึงตอนนี้แล้วท่านยังไม่รู้อีกรึ
ขอให้พระคุณเจ้าดูตัวเองใหม่ให้ชัดซิว่า ยังเป็นนักบวชอยู่หรือไม่”
เมื่อพระนางมุทุลักขณาเตือนให้รู้ฐานะพระฤาษก็มีสติพิจารณาก้มลงมองร่างกาย
ของตัวเอง บัดนี้มิเหลือคุณสมบัติของนักบวชอยู่เลย
แต่เป็นร่างกายที่ตรากตรำทำงานมาทั้งวันและจิตใจที่เต็มไปด้วยราคะ
พระนางมุทุลักขณาทรงเตือนสติพระฤาษีให้รู้ถึงสถานะของตนเอง
“โอ้..เราหนอสู้เพียรภาวนามานานปี กลับพ่ายแพ้ต่อกามราคะ ยอมทำทุกอย่างดังเสียสติ ไม่กลัวราชอาญา ไม่อายต่อคำครหา ไม่หวั่นเกรงนรกอเวจีเลย” เมื่อพระฤาษีรู้สึกดีชอบ จึงรีบขออภัยต่อพระนางมุทุลักขณา จากนั้นก็รีบเข้าเฝ้าและถวายพระมเหสีคืนต่อพระเจ้าพรหมทัต พระโพธิสัตว์เจ้ากำหนดสติวางจิตเป็นสมาธิญาณ
พระฤาษีถวายพระมเหสีคืนพระเจ้าพรหมทัตแล้วก็เหาะกลับไปยังป่าหิมพานต์
อภิญญาก็กลับคืนมาดังเดิม
เมื่อแสดงธรรมถวายเป็นเอนกปริยายแล้วพระฤาษีก็เหาะกลับยังป่าหิมพานต์
เจริญภาวนาไปจนสิ้นอายุขัยในโลกมนุษย์ แล้วจุติยังพรหมโลกด้วยกุศลธรรม
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาด้วยชาดกนี้จบลง ภิกษุหนุ่มผู้หลงใหลในกามกิเลสก็บรรลุธรรมหลุดพ้นความทุกข์ ณ ที่นั้น
ในพุทธกาลสมัย พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
พระนางมุทุลักขณา กำเนิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี
พระฤาษี เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า