พระมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตผู้มีนิสัยชอบดุด่าว่าร้ายข้าราชบริพาร
ณ เมืองสาวัตถี มีครอบครัวของเศรษฐีผู้หนึ่งนามว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นหลังจากรับสะใภ้ที่เป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่เข้ามาอยู่ในบ้าน สะใภ้ที่ว่านี้ก็คือนางสุชาดาผู้เป็นน้องสาวของนางวิสาขา
สะใภ้ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ซึ่งเป็นน้องของนางวิสาขา
สะใภ้ผู้นี้สำคัญตนว่าเป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่จึงไม่ยอมก้มหัวให้กับใครเลยในครอบครัวสามี เที่ยวดุด่าเฆี่ยนตีทาสรับใช้ในเรือนของสามีอยู่เป็นประจำ “ทาสอย่างพวกแก่เนี่ยไม่มีวันได้ดิบได้ดีขึ้นมาได้หรอก แค่สั่งให้ทำงานง่ายๆ แค่นี้ก็ทำไม่ได้ โอ๊ย..เบื่อจริงๆ เลยคนบ้านเนี่ย”
นางสุชาดามีนิสัยชอบดุด่าเฆี่ยนตีทาสรับใช้
แม้กระทั่งปู่และย่าผู้อาวุโสที่สุดในบ้านนางสุชาดาก็ไม่ได้ให้ความเคารพแต่อย่างใด “คุณปู่คุณย่าอยากได้ของอะไรก็เรียกให้เด็กรับใช้มาหยิบให้สิคะ หนูเองไม่ว่างพอที่จะมาทำอะไรให้หรอกคะ เหนื่อยจะตายใครจะไปทำ แค่เดินไปเดินมาในบ้าน เมื่อยพออยู่แล้ว จะให้ทำงานอีกก็คงจะไม่ไหว”
ปู่และย่าของสามีนางสุชาดาก็ไม่ให้ความเคารพ
วันหนึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เข้าไปฉันที่บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ขณะที่กำลังแสดงธรรมอยู่ ก็ได้ยินเสียงเอะอะโวยวาย “ทำไมพวกเจ้าถึงได้งี่เง้าอย่างนี้ ฉันบอกแล้วใช่ไหมว่า ฉันไม่ชอบกินผลไม้พวกนี้ ไปหาของที่ดีกว่านี้มาให้ฉัน ไป๊...”
พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาที่บ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
“เสียงเอะอะโวยวายอะไรรึ” “เสียงลูกสะใภ้ของหม่อมฉันเองพระเจ้าค่ะ” เมื่อเศรษฐีกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทราบ พระองค์จึงรับสั่งในนางมาเข้าเฝ้า “สุชาดา คำว่าภรรยานะมี 7 แบบ เจ้านะเป็นแบบไหน”
พระพุทธองค์ทรงมีรับสั่งให้นางสุชาดาเข้าเฝ้า
“หม่อมฉันไม่เข้าใจเพคะ ขอพระองค์ทรงโปรดอธิบายด้วยเพคะ” พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงเรื่องภรรยาทั้ง 7 จำพวกว่า ภรรยาแบบที่ 1 มีจิตคิดปทุษร้ายสามี มิได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี รักใคร่ในชายอื่น
ภรรยาแบบที่ 1 มีจิตคิดปทุษร้ายสามี
ดูหมิ่นล่วงเกินสามี หาเรื่องทำลายสามี เรียกภรรยาแบบนี้ว่า วธกาภริยา เปรียบภรรยาเหมือนกับเพชรฌฆาต ภรรยาแบบที่ 2_สามีได้ทรัพย์มามอบให้ภรรยาเก็บรักษาไว้ แต่ภรรยาไม่รู้จักเก็บรักษา มีแต่จะใช้ทรัพย์นั้นให้หมดไป เรียกว่า โจรีภริยา แบบภรรยาเหมือนกับโจร
ภรรยาแบบที่ 2 เปรียบเสมือนโจรไม่รักษาทรัพย์ที่สามีหามาให้
ภรรยาแบบที่ 3 เกียจคร้านทำงาน กินจุ มักโกรธ มักดุด่ากดขี่คนใช้ เรียกว่า อัยยาภริยาเปรียบภรรยาเหมือนกับเจ้านาย ภรรยาแบบที่ 4_โอบอ้อมอารีทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนแม่รักษาลูก
ภรรยาแบบที่ 3 เกียจคร้านทำงาน กินจุ มักโกรธ มักดุด่ากดขี่คนใช้
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ เรียกว่า มาตาภริยา เปรียบภรรยาเหมือนแม่ ภรรยาแบบที่ 5 มีความเคารพสามี มีความละอายใจ ทำตามความพอใจสามี คล้ายน้องสาวเคารพพี่ชาย เรียกว่า ภคินีภริยา เปรียบภรรยาเหมือนน้องสาว
ภรรยาแบบที่ 4 โอบอ้อมอารี ตามรักษาสามีเหมือนแม่รักษาลูก
ภรรยาแบบที่ 6 เมื่อเห็นหน้าสามี มีแต่ความยินดีคล้ายกับเพื่อนรักมาเยี่ยมที่บ้าน รักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล มีศีลมีวัตรปฏิบัติต่อสามีดี เรียกว่า สขีภริยา เปรียบภรรยาเหมือนเพื่อน ภรรยาแบบที่ 7_เป็นคนที่ไม่โกรธง่าย
ภรรยาแบบที่ 5 มีความเคารพสามี มีความละอายใจ ทำตามความพอใจสามี
ถึงจะถูกคุกคามก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายอดกลั้นต่อสามี เอาใจสามีเก่ง เรียกว่า ทาสีภริยา เปรียบภรรยาเหมือนทาส “สุชาดาเอ๋ย ภรรยา 3 แบบแรกต้องตกนรก ส่วนภรรยา 4 แบบหลังจะไปเกิดในเทวโลกชั้นนิมานรดี ภรรยา 7 แบบนี้นะ เจ้าเป็นแบบไหนกัน”
ภรรยาแบบที่ 6 เมื่อเห็นหน้าสามี มีแต่ความยินดีคล้ายกับเพื่อนรักมาเยี่ยมที่บ้าน
“ข้าขอเป็นทาสีภริยา ภรรยาเหมือนดั่งทาสเพคะ” เมื่อกลับถึงวัดเชตวันเหล่าภิกษุพากันกล่าวถึงนางสุชาดาที่เป็นหญิงสะใภ้เจ้าอารมณ์ แต่พอได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วกลับเป็นหญิงเรียบร้อยไปได้ พระพุทธเจ้าจึงได้อธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นพร้อมตรัสอดีตนิทานมาเล่า
ภรรยาแบบที่ 7 เป็นคนที่ไม่โกรธง่ายถึงจะถูกคุกคามก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายอดกลั้นต่อสามี
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ เมืองพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตได้สมรสกับมเหสี ต่อมาก็มีพระราชโอรสตัวน้อยซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตเป็นอย่างมาก มเหสีของพระเจ้าพรหมทัตเป็นหญิงดุร้ายชอบด่าบริวารข้าทาสอยู่เสมอ
พระพุทธองค์ทรงนำชาดกมาตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายได้ฟังกัน
“พวกเจ้าดูแลพระโอรสกันอย่างไรเนี่ย ถึงได้หกล้มได้ ฉันจะลงโทษพวกเจ้าทุกคน ทหาร!..เอาตัวพวกนี้ไปลงทัณฑ์เฆี่ยนให้หลังลายเลย” เมื่อพระโอรสเจริญวัยก็ทรงเป็นห่วงพฤติกรรมของมารดาแต่ก็ไม่สามารถจะว่ากล่าวอะไรได้ “ทำไมพวกเจ้าถึงทำงานไม่เรียบร้อยอย่างนี้
พระราชโอรสพระเจ้าพรหมทัตแห่งเมืองพาราณสี
ดูซิ ตรงนี้ยังมีฝุ่นหนาอยู่เลย ปัดกวาดให้มันสะอาดหน่อยสิ นี่มันในวังนะ ไม่ใช่ชนบทบ้านของพวกเจ้า ไปทำให้มันสะอาดไม่อย่างนั้นพวกเจ้าจะโดนเฆี่ยนหลังลายแน่” เมื่อพระโอรสได้เรียนรู้วิชาต่างๆ จากในวังจนหมดสิ้นแล้ว ก็เดินทางไปศึกษาศิลปะที่เมืองตักศิลา
พระโอรสทรงทางไปศึกษาศิลปะที่เมืองตักศิลา
“หม่อมฉันจะตั้งใจเรียนพระเจ้าค่ะ เสด็จพ่อเสด็จแม่ดูแลตัวเองด้วยนะ” “พวกเจ้าดูแลพระโอรสให้ดีๆล่ะ อย่าให้รู้เชียวนะว่าเจ้าดูแลลูกของเราขาดตกบกพร่องน่ะ” เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงสวรรคต พระโอรสก็ทรงขึ้นครองราชย์สืบมา
พระโอรสสังเกตเห็นมารดายังมีนิสัยชอบดุด่าเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยคุณธรรม แต่ด้านของมเหสีเองกลับมีนิสัยดุร้ายอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง “เอาออกไปให้หมด..พวกเจ้านำสำรับมาให้ฉันทาน ดูซิของอย่างนี้ใครจะไปทานได้ ฉันแก่ขนาดนี้แล้ว ยังจะเอาของหวานๆ มาให้อีก อยากให้ฉันตายๆ ไปนักหรือไง ไม่ได้เรื่องได้ราวเลยซักคน...”
พระโอรสเสด็จไปยังอุทยานกับมารดาพร้อมข้าทาสบริวาร
“เฮ้อไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ ท่านแม่ก็ยังมีนิสัยดุร้ายอย่างเดิมเราจะทำอย่างดีนะ..ให้ท่านแม่เปลี่ยนไปได้” พระโอรสทรงครุ่นคิดถึงวิธีที่จะตักเตือนพระมารดาอยู่นานก็คิดไม่ได้สักที จนมาวันหนึ่งพระองค์เสด็จไปยังอุทยานพร้อมกับมารดามีบริวารติดตามไปด้วยคณะใหญ่
ข้าทาสบริวารเอามือปิดหูเพราะรำคาญเสียงร้องของนกต้อยตีวิด
เดินไปสักพักพวกข้าทาสบริวารก็เอามือปิดหูเพราะรำคาญเสียงร้องของนกต้อยตีวิด “โอ๊ย...รำคาญเจ้านกนี่จริงๆ เลยร้องแสบแก้วหูไปหมด” “นั่นนะซิ น่าจะจับมาถอนขนให้หมด โอ๊ย..ปวดแก้วหู” “เจ้านกบ้านี่เสียงไม่เพราะแล้วยังร้องอยู่ได้ ไม่รู้จักสำนึกรีบๆ เดินกันเถอะลูก แม่อยู่แถวนี้ต่อไปได้อารมณ์เสียมากกว่านี้แน่ๆ เลย”
พระมเหสีทนฟังไม่ได้ในเสียงร้องของนกต้อยตีวิด
พอเดินต่อมาได้สักพัก ทั้งมเหสีและบริวารก็อารมณ์ขึ้น เพราะได้ยินเสียงร้องของนกดุเหว่า “อือ..อย่างนี้ซิ ค่อยอารมณ์ดีขึ้นมาหน่อย ลมเย็นๆ สบาย เสียงนกร้องไพเราะอย่างกับเสียงเพลงฟังแล้วระรื่นหูดีจริงๆ” “เสียงนกดุเหว่านี้เพราะจริงๆ ฟังเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกเบื่อ ยิ่งฟังก็ยิ่งเพราะ”
เมื่อเดินเลยเสียงนกต้อยตีวิดมาสักระยะพระมเหสีก็คลายความรำคาญใจลงได้
“นั่นนะสินะ ถ้าได้ฟังเสียงนกดุเหว่าร้องทุกวันก็คงจะดี ร้องต่ออีกนะเจ้านก อย่าเพิ่งหยุดร้องเสียละ” เสียงร้องของนกทั้งสองชนิดนี้ทำให้พระโอรสทรงคิดถึงคำจะใช้ตักเตือนมารดาได้ “ใช่ซินะหากเรานำนกทั้งสองนี้มายกตัวอย่างเสด็จแม่จะน่าเปลี่ยนพฤติกรรมได้”
เดินต่อมาได้สักระยะก็ได้ยินเสียงร้องของนกดุเหว่าซึ่งมีเสียงไพเราะน่าฟัง
“ลูกเอ๋ย..ฟังเสียงนกดุเหว่าร้องซิ ไพเราะจริงๆ เจ้าชอบไหม๊ละ” “ชอบพะยะค่ะ เสด็จดูซินกดุเหว่าสีดำตัวนี้ สีก็ไม่สวยแถมลายพล้อยไปทั้งตัว แต่ที่น่าแปลกที่มันกลายเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาก พวกเราที่เป็นมนุษย์ก็ยังชอบเลยนะ แต่นกต้อยตีวิดที่เราเห็นตะกี้สีสันสวยงามน่ารักแต่กลับร้องแสบแก้วหู
พระโอรสทรงได้แนวคิดจากเสียงร้องของนกสองชนิดที่จะนำมาเตือนสติมารดา
ไม่เห็นจะมีใครชอบมันซักคน ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่สมบูรณ์วรรณะมีเสียงอันไพเราะน่ารักน่าชมแต่พูดจาหยาบกระด้างย่อมไม่เป็นที่รักของใครๆทั้งในโลกนี้และโลกหน้า พระองค์ก็ได้เห็นมิใช่หรือว่านกดุเหว่าสีดำตัวนี้ไม่น่ารักเลย แต่กลับเป็นที่รักของสัตว์อื่นๆ เพราะเสียงร้องด้วยเสียงอันไพเราะ
พระโอรสทรงเตือนสติเกี่ยวกับเรื่องการพูดแก่มารดา
เพราะฉะนั้นบุคคลควรพูดคำอันสละสลวย คิดก่อนพูด พูดพอประมาณไม่ฟุ้งซ่าน ถ้อยคำของผู้ที่แสดงอรรถเป็นธรรมเป็นถ้อยคำไพเราะเป็นถ้อยคำที่เป็นภาษิต” “จริงอย่างที่เจ้าพูด แม่เป็นถึงมเหสี เป็นมารดาของเจ้าแท้ๆ กลับคิดไม่ได้ ที่ผ่านมาแม่ก็เป็นเหมือนนกต้อยตีวิดนั่นแหละ
พระมเหสีได้สติจากคำเตือนของโอรสและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง
จากนี้เองแม่จะเปลี่ยนตัวเองเสียใหม่ ขอบใจเจ้ามากนะ ที่เตือนแม่ให้ได้สติ” “พระเจ้าค่ะ ลูกดีใจที่เสด็จแม่เสด็จแม่คิดได้ จากนี้ไปทั้งบ่าวทั้งไพล่และราษฎรก็คงรักและเทิดทูนเสด็จแม่มากขึ้นแน่ๆ พะยะคะ”
พระมเหสีในครั้งนั้น กำเนิดเป็น นางสุชาดา
พระโอรสเสวยพระชาติเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า