วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พันธนาคารชาดก


น   ตํ   ทฬฺหํ   พนฺธนมาหุ   ธีรา...
ปุตฺเตสุ   ทาเรสุ   จ   ยา   อเปกฺขา ฯ
เอตํ   ทฬฺหํ   พนฺธนมาหุ   ธีรา
โอหารินํ    สิถิลทุปฺปมุญฺจํ
เอตมฺปิ    เฉตฺวาน   วชนฺติ    ธีรา
อนเปกฺขิโน   กามสุขํ   ปหายาติ ฯ

ความนำ
พระพุทธเจ้าทรงอาศัยพระนครสาวัตถี  ประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน ทรงปรารภนักโทษที่ติดคุกในเรือนจำ  ได้ตรัสพระธรรมเทศนาคือคาถาที่ปรากฏ ณ เบื้องต้น  

ปัจจุบันชาติ
มีเรื่องเล่ามาว่า ในครั้งนั้น พวกราชบุรุษได้จับพวกโจรผู้โหดร้ายคอยชิงทรัพย์และฆ่าเจ้าทรัพย์นำตัวไปถวายพระเจ้าโกศล พระราชามีรับสั่งให้จองจำพวกโจรเหล่านั้นด้วยเครื่องจองจำคือ ขื่อคา เชือก และโซ่ เป็นต้น
ต่อมา มีภิกษุชาวชนบทประมาณ ๓๐ รูป ประสงค์จะเฝ้าพระบรมศาสดา จึงพากันเดินทางมาเพื่อถวายบังคม รุ่งเช้า ภิกษุทั้งหมดได้ออกบิณฑบาตเดินทางผ่านเรือนจำเห็นพวกโจรเหล่านั้นกำลังถูกจองจำอยู่ เมื่อกลับจากบิณฑบาต ในเวลาเย็นได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้ากำลังออกบิณฑบาตได้พบพวกโจรมากมายถูกจองจำด้วยขื่อคาเป็นต้นในเรือนจำได้รับทุกขเวทนามากมาย พวกโจรเหล่านั้นไม่สามารถจะตัดทำลายเครื่องจองจำเหล่านั้นแล้วหนีไปได้เลย ในโลกนี้ยังจะมีเครื่องจองจำ  อื่นที่ยังมั่นคงกว่าเครื่องจองจำเหล่านี้อีกหรือไม่ พระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำเหล่านั้นจะชื่อว่าเป็นเครื่องจองจำได้อย่างไรกัน ส่วนเครื่องจองจำคือกิเลสได้แก่ ตัณหาในทรัพย์ ข้าวเปลือก             บุตรภรรยา เป็นต้น ทั้งหมดนี่แหละมั่นคงยิ่งกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า               แต่เครื่องจองจำเหล่านั้นแม้จะใหญ่หลวงตัดได้ยากเพียงใด  ก็เคยมีบัณฑิตในสมัยก่อนผู้สามารถตัดได้แล้วหนีไปบวชที่หิมวันตประเทศ” 
จากนั้น ได้ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้

อดีตชาติเนื้อหาชาดก
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ได้มีคหบดียากจนตระกูลหนึ่ง เมื่อเขาโตขึ้นบิดาได้ถึงแก่กรรมลง เขาได้ประกอบอาชีพรับจ้างเลี้ยงดูมารดาผู้แก่ชรา 
ต่อมา มารดาได้ไปขอธิดาจากตระกูลหนึ่งมาให้บุตรชายทั้ง ๆ ที่เขาไม่มีความต้องการแต่อย่างใด เวลาผ่านไป มารดาก็ตายจากเขาไปอีกคนหนึ่ง
ไม่นานนัก ภรรยาของเขาก็ตั้งครรภ์ เขาไม่รู้ว่าภรรยากำลังตั้งครรภ์จึงบอกนางว่า                 “น้องเอ๋ย น้องจงรับจ้างเขาเลี้ยงตนเองเถิด พี่จักไปบวช” 
นางได้ฟังก็ตกใจรีบบอกสามีทันทีว่า “พี่จ๋า น้องกำลังตั้งท้อง เอาไว้ให้น้องคลอดลูกแล้ว พี่ได้เห็นหน้าลูกแล้วค่อยบวชเถิด”
สามีจึงอดทนรอคอย ในที่สุด นางก็ได้คลอดลูก เมื่อเขาจะลานางออกบวชอีก           นางก็เหนี่ยวรั้งเขาไว้ด้วยการบอกว่า “พี่จ๋า อย่าพึ่งบวชเลย เอาไว้ให้ลูกของเราหย่านมก่อนเถิด” ไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์ลูกคนที่ ๒ อีก
ฝ่ายสามีจึงคิดในใจว่า ถ้าเราบอกลา นางคงผัดผ่อนไปเรื่อย ๆ จนลูกโตเป็นหนุ่มเราก็คงไม่ได้บวชเสียที เราควรหนีไปบวชจะดีกว่า พอตกกลางคืน ในขณะที่นางกำลังหลับอยู่ก็หนีออกไปบวชทันที
ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลพระนครจับตัวเขาไว้ได้ เขาจึงบอกว่า “เจ้านายครับ              ผมเป็นคนเลี้ยงดูบิดามารดา โปรดปล่อยผมไปเถิด” เมื่อถูกปล่อยตัว เขาก็รีบออกไปทางประตูใหญ่ที่เปิดแล้วมุ่งหน้าเข้าไปในป่าหิมพานต์บวชเป็นฤาษีทำฌานและอภิญญาให้บังเกิด                  มีความสุขเพลิดเพลินอยู่ในฌาน
ฤาษีเมื่ออยู่ในที่นั้นได้เปล่งอุทานว่า “เราได้ตัดเครื่องจองจำคือบุตรภรรยาอันเป็นเครื่องจองจำที่ตัดได้ยากเหลือเกิน” จากนั้นได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เครื่องผูกอันใดที่ทำด้วยเหล็กก็ดี
ทำด้วยไม้ก็ดี ทำด้วยหญ้าปล้องก็ดี 
นักปราชญ์ทั้งหลายไม่กล่าวเครื่องผูกนั้นว่า 
เป็นเครื่องผูกอันมั่นคง  ส่วนความกำหนัดยินดี
ในแก้วมณีและกุณฑลก็ดี ความห่วงใยในบุตรและภรรยาก็ดี
นักปราชญ์กล่าวเครื่องผูกนั้นว่า เป็นเครื่องผูกอันมั่นคง
ที่ทำให้สัตว์ต้องตกต่ำ ย่อหย่อน แก้ได้ยาก แม้เครื่องผูกนั้น
นักปราชญ์ก็ตัดได้ไม่มีความห่วงใย ละกามสุข หลีกออกไปได้

ความหมายของคาถา
ฤาษีได้เปล่งอุทานเพื่อต้องการอธิบายให้ทราบดังนี้ว่า นักปราชญ์ผู้ตัดเครื่องผูกที่ตัดได้ยากก็คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
เครื่องจองจำในโลกนี้เป็นเครื่องจองจำได้แต่เพียงกายเท่านั้น แต่ไม่สามารถขังใจที่มุ่งแสวงหาเสรีภาพได้ ส่วนเครื่องจองจำคือกิเลสนั้นแม้เกิดขึ้นคราวเดียวด้วยอำนาจแห่งตัณหาและโลภะย่อมแก้ให้หลุดได้ยากเหลือเกินเหมือนเต่าไม่สามารถดิ้นหลุดจากเครื่องผูกได้เลย
ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำคือกิเลสเหล่านั้นได้ด้วยพระขรรค์คือญาณ ตัดห่วงเหล็กเหมือนช้างตกมันสลัดโซ่ที่พันธนาการ เหมือนราชสีห์หนุ่มทำลายซี่กรงที่ขังตนไว้ รังเกียจวัตถุกามและกิเลสกาม เหมือนรู้สึกขยะแขยงพื้นที่เต็มไปด้วยของสกปรก ไม่มีความห่วงใยละกามสุขออกไปบวชเป็นฤาษีในป่าหิมพานต์ทำตนให้มีความสุขอันเกิดจากฌาน
ฤาษีนั้นครั้นเปล่งอุทานอย่างนี้แล้วมีฌานไม่เสื่อมมีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ประชุมชาดก
      พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ในเวลาจบสัจธรรม ภิกษุบางพวกได้เป็นโสดาบัน จนถึงอรหันต์ ทรงประชุมชาดกว่า  “มารดาในครั้งนั้นได้เป็นพระนางมหามายาเทวีในครั้งนี้ บิดาได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนะมหาราช ภรรยาได้เป็นมารดาพระราหุล ส่วนบุรุษผู้ละบุตรและภรรยาออกบวชคือตัวเราตถาคตนั้นเอง”

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ออกบวชเพราะผมหงอกเส้นเดียว (มฆเทวชาตกํ)


อุตฺตมงฺครุหา มยฺหํ     อิเม  ชาตา  วโยหรา
ปาตุภูตา  เทวทูตา ปพฺพชชาสมโย  มมาติฯ 
                                                  
ความนำ
                        พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในวัดพระเชตวัน ใกล้เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการออกผนวชของพระองค์เอง ได้ตรัสพระธรรมเทศนาคือคาถาที่ปรากฏ ณ เบื้องต้น

ปัจจุบันชาติ
มีเรื่องเล่าว่า บรรดาภิกษุทั้งหลายได้นั่งสนทนากันอยู่ปรารภถึงการเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า ในขณะนั้น พระพุทธองค์เสด็จมาถึงโรงธรรมสภาเมื่อทราบเรื่องจึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจะออกบวชเฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ออกบวชแบบนี้เหมือนกัน
จากนั้น ได้ทรงนำเรื่องราวในอดีตชาติมาตรัสเล่าให้ฟัง ดังต่อไปนี้

อดีตชาติเนื้อหาชาดก
                        อดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า มฆเทวะ ในกรุงมิถิลาวิเทหรัฐ   เป็นพระมหาธรรมราชาผู้ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม วันหนึ่ง พระองค์ได้ทรงตรัสสั่งกับช่างกัลบกว่า
ถ้าท่านเห็นผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะของเราในกาลใด ขอให้ท่านจงบอกแก่เราในกาลนั้น
ต่อมา ช่างกัลบกได้พบพระเกศาหงอกเส้นหนึ่งจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระเกศาหงอกเส้นหนึ่งปรากฏแก่พระองค์แล้ว
ช่างกัลบกได้เอาแหนบทองคำถอนพระเกศาหงอกเส้นนั้นมาประดิษฐานบนฝ่าพระหัตถ์ของพระราชา
                พระราชาเมื่อทอดพระเนตรพระเกศาหงอก ทรงทำความสำคัญประหนึ่งว่า            พระยามัจจุราชมาประทับยืนอยู่ใกล้ ๆได้ทรงถึงความสังเวชดำริว่า ดูก่อนมฆเทวะผู้โง่เขลา เจ้ายังไม่สามารถละกิเลสได้แม้แต่นิดเดียวจนตราบเท่าที่ผมหงอกเกิดขึ้น
 เมื่อพระองค์ทรงรำพึงถึงผมหงอกที่ปรากฏแล้ว ความเร่าร้อนภายในก็บังเกิดขึ้น พระองค์ทรงดำริว่า เราสมควรจะต้องออกบวชในวันนี้แหละ
จึงทรงพระราชทานบ้านชั้นดีแก่ช่างกัลบกแล้วรับสั่งให้เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มาตรัสสั่งว่า
ลูกเอ๋ย ผมหงอกได้ปรากฏบนศีรษะของพ่อแล้ว พ่อได้กลายเป็นคนแก่ไปแล้ว กามคุณของมนุษย์พ่อได้เสพมาหมดแล้ว บัดนี้ พ่อจักแสวงหากามที่เป็นทิพย์ ถึงเวลาที่พ่อจักต้องอำลาเจ้าออกบวชแล้ว ขอเจ้าจงได้ครอบครองราชสมบัตินี้เถิด พ่อจักบำเพ็ญสมณธรรม          ในอัมพวันอุทยานชื่อมฆเทวะ
                        เหล่าอำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลถามว่า
ขอเดชะ อะไรกันหนอเป็นสาเหตุแห่งการสละกามออกทรงผนวชของพระองค์ พระเจ้าข้า
พระราชาจึงทรงถือเอาพระเกศาหงอกเส้นนั้นออกมาแสดงแล้วตรัสพระคาถานี้แก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า

ผมที่หงอกบนศีรษะของเรานี้เกิดขึ้นมา
ได้นำเอาวัยของเราไปเสียแล้ว ตัวเทวทูต ได้มา
ปรากฏแก่เราแล้ว บัดนี้ เป็นเวลาที่ตัวเราจะต้อง
ออกทำการบรรพชาเสียที
ความหมายของคาถา
พระราชาต้องการตรัสสอนเหล่าบรรดาโอรสเป็นต้นว่า
เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูเถิด ผมหงอกเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ได้ชื่อว่าพาเอาวัยหนุ่มไปแล้ว เพราะปรากฏให้เห็นโดยภาวะแห่งผมหงอก ตัวมัจจุราชนั้นได้ชื่อว่าเทวทูต             อันที่จริง เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏขึ้นบนศีรษะ บุคคลย่อมเป็นเหมือนยืนอยู่ในสำนักของ     พระยามัจจุราช  เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลายท่านจึงเรียกว่าเป็นทูตของมัจจุราช
ข้อนี้ก็เปรียบเหมือนกับเทวดาที่ตกแต่งร่างกายสวยงามยืนสว่างไสวในอากาศแล้วกล่าวว่า ท่านจักต้องตายในวันนั้น วันนี้ ฉันใด เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏแล้วบนศีรษะย่อมเป็นเช่นกับเทวดาพยากรณ์ฉันนั้นเหมือนกัน
                   พระเจ้ามฆเทวะสละราชสมบัติออกบวชเป็นฤาษีในวันนั้นนั่นเอง ประทับอยู่ในมฆอัมพวัน เจริญพรหมวิหาร ๔ ดำรงอยู่ในฌานอันไม่เสื่อม สวรรคตแล้วบังเกิดในพรหมโลก จุติจากพรหมโลกนั้น ได้เป็นพระราชานามว่าเนมิ ในกรุงมิถิลาสืบต่อวงศ์ของพระองค์ที่เสื่อมลงจึงทรงผนวชในอัมพวันนั้นนั่นเอง เจริญพรหมวิหารได้กลับไปเกิดในพรหมโลกตามเดิมอีก                 พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า  
ช่างกัลบกคือพระอานนท์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่คือราหุล ส่วนพระเจ้ามฆเทวะคือเราตถาคตนั่นเอง

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สุขวิหารีชาดก ชาดกว่าด้วยสุขอันเกิดจากการบรรพชา


สถานที่ตรัสชาดก
อนุปิยอัมพวัน แขวงเมืองอนุปิยนคร

สาเหตุที่ตรัสชาดก
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชแล้ว พระภัททิยะ พระอนุชา ได้เสด็จเสวยราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อสันตติวงศ์ แวดล้อมอยู่ด้วยราชองครักษ์ผู้ถวายอารักขาอย่างแน่นหนาและใกล้ชิด แต่ยังพระปริวิตกต่อภยันตรายอันจะพึงเกิดจากการประทุษร้ายอยู่เนืองนิจ มิเคยมีความสงบและเป็นสุขเลย

เมื่อออกผนวชในพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญเพียรจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ พระเถระเดินทางภิกขาจารไปทุกหนทุกแห่งโดยลำพัง แต่มีปีติและสุข ด้วยไม่ข้องอยู่กับอิสริยยศและอันตราย จึงเปล่าอุทาน “สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ”

พระภิกษุทั้งหลายผ่านมาได้ยินเข้าจึงติเตียน และไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ได้ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงระลึกชาติแต่หนหลัง ด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า

“ ท่านภัททิยะมิได้เปล่งวาจาออกมา เพราะอาลัยในราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์ และก็มิใช่ต้องการอวดอ้างความเป็นพระอรหันต์ ดังที่พวกเธอทั้งหลายหลงเข้าใจหรอก นี่คือปกตินิสัยที่ท่านมีมาแต่ชาติปางก่อน ”

พระภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลอาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าเรื่องราวให้ฟัง

เนื้อหาชาดก
สมัยหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัต ครองกรุงพาราณสี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ อุทิจจะ เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องมาก เป็นที่นับถือยกย่อง มีลูกศิษย์มาก ได้พิจารณาเห็นโทษของการครองเรือน และเห็นอานิสงส์ของการออกบวช จึงนำทรัพย์ออกแจกจ่ายเป็นทาน แล้วไปอยู่ในป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษี ฝึกสมาธิจนได้ณานโลกีย์บรรลุสมาบัติ ๘ มีลูกศิษย์ ๕๐๐ คน เป็นบริวาร

ในช่วงฤดูฝนไม่เหมาะแก่การเจริญภาวนา ฤาษีอาจารย์จึงพาศิษย์เข้ามาพำนักในเมือง พระเจ้ากรุงพาราณสี จึงพระราชทานพระราชอุทยานให้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนา เมื่อสิ้นฤดูฝน พระเจ้าพาราณสีเห็นว่า พระฤาษีอาจารย์นั้นชราภาพมากแล้วจึงอาราธนาให้ท่านพำนักอยู่ต่อ ส่วนลูกศิษย์ก็ให้กลับไปบำเพ็ญเพียรในป่าหิมพานต์กันเองตามลำพัง

วันหนึ่งศิษย์คนโตรู้สึกคิดถึงอาจารย์ จึงเดินทางไปเยี่ยมเยียนอาจารย์ ขณะศิษย์คนโตลงนอนในสำนักพระอาจารย์ พระเจ้าพรหมทัตได้เสด็จมาถึงเพื่อกราบมนัสการฤาษีอาจารย์เช่นกัน ฤาษีผู้เป็นศิษย์แม้จะเห็นพระเจ้าพรหมทัต ก็มิได้ลุกขึ้นทำการต้อนรับตามมารยาทอันดีแต่ประการใด กลับนอนเฉยเสีย ซ้ำยังเปล่งอุทานออกมาอีกว่า “ สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ”

พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรแล้ว รู้สึกขัดเคืองพระทัยจึงตรัสถามพระฤาษีอาจารย์ว่า “ ข้าแต่พระผู้เจริญ ดาบสผู้นี้ เห็นทีจะฉันจนอิ่มหนำสำราญมากเสียแล้ว จึงคร้านที่จะลุกขึ้น ได้แต่นอนเปล่งอุทานสบายอารมณ์อยู่อย่างนี้ ”

พระฤาษีอาจารย์จึงตอบว่า ศิษย์ผู้นี้เดิมก็เป็นกษัตริย์ แต่ที่อุทานออกมาเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะอิ่มจัด ไม่ใช่เพราะต้องการกลับไปแสวงหาความสุขจากราชสมบัติ แต่คิดว่าการออกบวชนั้นเป็นสุขจริง ๆ สุขยิ่งกว่าการเป็นกษัตริย์ เป็นสุขสองชั้น

กล่าวคือ สุขที่ไม่ต้องหวาดผวาจากการถูกปองร้าย สุขที่ไม่ต้องมีภาระดูแลราชการบ้านเมือง และไม่ตกเป็นภาระแก่ใคร ๆ ให้ต้องคอยปกป้องอารักขาความปลอดภัย นับเป็นสุขชั้นแรก อนึ่งสุขจากการบรรลุธรรมเป็นสุขอันเลิศ ที่ไม่ต้องอาศัยบุคคลและวัตถุใด ๆ นับเป็นสุขชั้นที่สอง เพราะเหตุนี้ จึงเปล่งอุทานอยู่เสมอ ๆ ว่า “สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ”

พระเจ้ากรุงพาราณสีสดับพระธรรมเทศนาด้วยใจที่เบิกบานแช่มชื่น เข้าพระทัยแล้วก็มิได้ถือโกรธดาบสผู้นั้น ดาบสผู้ศิษย์เองก็กราบลาพระอาจารย์กลับสู่ป่าหิมพานต์บำเพ็ญเพียรต่อไป ส่วนพระอาจารย์ได้พำนักอยู่ ณ พระราชอุทยานจนสิ้นอายุขัย เมื่อละโลกไปแล้วได้ไปบังเกิดในพรหมโลก ด้วยอำนาจณานสมาบัติ

ประชุมชาดก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า
ศิษย์ผู้เป็นหัวหน้า ได้เกิดมาเป็นภัททิยะ
พระฤาษีอาจารย์ ได้เกิดมาเป็นพระองค์เอง

ข้อคิดจากชาดก
บุคคลแม้มีจิตใจใสสะอาด แต่กิริยามารยาทยังสำรวมระวังไม่พอ ก็อาจมีผู้เข้าใจผิด คิดเป็นศัตรูได้ โบราณจึงเตือนว่า
“ อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา
อยู่ท่ามกลางปวงประชา ให้ระวังทั้ง กาย วาจา ใจ ”

credit : kalyanamitra.org

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

กัณฑินาชาดก ว่าด้วยโทษของการตกอยู่ในอำนาจสตรี

 กวางหนุ่มผู้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกวางสาว

  
    ครั้นเมื่อพระพุทธศาสดาทรงตรัสรู้พบอริยะและประกาศพระศาสนาขึ้นในแคว้นมคธดิแดนอารยันนั้น กิตติศัพท์แห่งความจริงอันเป็นหลักธรรมของพระองค์ก็แผ่คลุมทั่วภารตะประเทศ มีผู้คนไกลใกล้ทยอยกันมาสู่มคธรัตนเพื่อขอบวชในพระพุทธศาสนามากมาย
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ แคว้นมคธ
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ แคว้นมคธ
 
     กุลบุตรเหล่านี้ส่วนใหญ่เลื่อมใสเพราะได้ฟังสัจธรรมจากพระพุทธองค์ยิ่งนานวัน จำนวนสงฆ์สาวกก็ยิ่งทวีจำนวนขึ้น จากกลุ่มคหบดีและนายวาณิชในพระนคร รังสีแห่งพุทธธรรมก็ฉาบฉายไกลออกทั่วนิคมชนบททั้งของแคว้นมคธ กาสี และโกศล 
 
ภิกษุสงฆ์สาวก ซึ่งนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น
 
ภิกษุสงฆ์สาวก ซึ่งนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น
 
    กุลบุตรตระกูลพราหมณ์ผู้หนึ่ง มีโอกาสได้ฟังธรรมในพระเวฬุวันต์อันเป็นอารามแรกในพระพุทธศาสนาก็ศรัทธาจนแก่กล้าประพฤติตนอยู่ในหลักคำสอนตั้งแต่นั้น “อึม..รักษาศีลภาวนาปฏิบัติธรรม ที่ผ่านมาเรามีแต่กิเลสตัณหา บัดนี้ถึงเวลาที่จะชำระล้างจิตใจเสียที”
 
พราหมณ์หนุ่มผู้เปี่ยมด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา
 
พราหมณ์หนุ่มผู้เปี่ยมด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา
 
    ชายหนุ่ม ลด ละ เลิก ความประพฤติตามวิสัยของฆราวาสผู้ครองเรือนไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นผู้ถือศีลแบบสมณะอยู่ในบ้านในที่สุด สิ่งนี้ได้สร้างความกังวลแก่ภรรยาเป็นอย่างมาก “ท่านพี่นะท่านพี่ทำไมถึงได้เมินเฉยต่อน้องนัก น้องทำอะไรผิดไปเหรอ”
  
ภรรยาสาวของพราหมณ์หนุ่มสำรวจความเปลี่ยนแปลงตนเอง
 
ภรรยาสาวของพราหมณ์หนุ่มสำรวจความเปลี่ยนแปลงตนเอง
 
    ภรรยาสาวพราหมณ์หนุ่มเริ่มหาคำตอบในการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างกระวนกระวาย แต่เนื่องจากไม่เคยรู้รสพระธรรมเช่นสามี จึงไม่อาจรู้ถึงความสำคัญสิ่งนั้นได้ “เราก็ยังสวยงามไม่มีที่ตินี่น่าการบ้านการเรือนก็มิได้น้อยหน้าภรรยาผู้ใด แล้วทำไมท่านพี่ต้องห่างเหินเราด้วยนะ”
 
ภรรยาสาวของพราหมณ์หนุ่มตัดพ้อในความห่างเหินของสามี
 
ภรรยาสาวของพราหมณ์หนุ่มตัดพ้อในความห่างเหินของสามี
 
    แม้ความพิศวาสรักใคร่ที่สามีเคยชมชอบ ก็ถูกกำจัดตัดขาดไปสิ้น “กามกิเลสเป็นศัตรูของผู้ปฏิบัติธรรม “น้องหญิงอย่าพยายามเลย” “โอ้ นี่เราคงสูญเสียเค้าไปแล้วจริงๆ ทำไงดีนะที่จะได้ความสุขกลับมาได้เหมือนเดิม”
 
พราหมณ์หนุ่มได้ออกบวชดั่งใจที่ปรารถนา
 
พราหมณ์หนุ่มได้ออกบวชดั่งใจที่ปรารถนา
 
    อันตำราที่ว่าน้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ ย่อมใช้ได้กับคนทุกชาติทุกภาษา ครั้นเมื่อสามีหนุ่มประสงค์จะออกบวชในพระพุทธศาสนาภรรยาสาวจึงโอนอ่อนผ่อนตามไปก่อน “ในที่สุดท่านพี่ก็จากเราไปจริง ช่างเถอะค่อยหาทางดึงกลับมาทีหลัง” “อื้อหือยังสาวอยู่แท้ๆ สามีออกบวชอย่างนี่ คงจะเหงาแย่ละซินะ" "อย่าแม้แต่จะคิดนะตาแก่” “โอยไม่หรอกจ๊ะพี่ยังไม่คิดที่จะบวชหรอก” “ฉันไม่ได้หมายถึงเรื่องบวช อย่ามาทำไขสือ อย่าให้รู้ว่าแกแอบไปทำเจ้าชู้ที่ไหน แม่จะเล่นงานให้”
 
พราหมณ์หนุ่มเมื่อบวชแล้วก็สำรวมกาย-ใจ ตั้งใจปฏิบัติธรรม
 
พราหมณ์หนุ่มเมื่อบวชแล้วก็สำรวมกาย-ใจ ตั้งใจปฏิบัติธรรม
 
    มานพหนุ่มเมื่อได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์สมเจตนา ก็ระมัดระวังกายใจไม่ให้ตกเป็นทาสกิเลส เฝ้าประพฤติตามพุทธบัญญัติมิได้บกพร่องอยู่ในพระอาราม “ในที่สุดเราก็ได้บวชในพระพุทธศาสนาดังใจซะที จากนี้ก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมให้บรรลุจงได้”
 
ภรรยาสาวคิดแผนการดึงตัวภิกษุอดีตสามีให้กลับมาอยู่กินกับตนเช่นเดิม
 
ภรรยาสาวคิดแผนการดึงตัวภิกษุอดีตสามีให้กลับมาอยู่กินกับตนเช่นเดิม
 
    วันคืนล่วงไปมิทันนาน ภรรยาผู้เหมือนตกพุ่มหม้ายแต่ยังสาวก็คิดแผนการดึงตัวภิกษุกลับคืนมาอยู่กินเช่นเดิมได้  “เราต้องทำให้หลวงพี่ระลึกถึงสิ่งเก่าๆ แล้วค่อยอ้อนวอนท่าน ดูซิจะทนไหวไหม” นางผู้ก่อบาปเพื่อความสุขของตน ได้แต่งกายสวยงาม อบรั่มกลิ่นกายจนหอมกรุ่น แล้วนำอาหารที่พระภิกษุชอบเข้าไปถวาย ขอปวารนาตนเป็นอุบาสิกาดูแลเรื่องของฉันต่อไปอีก
 
อดีตภรรยาสาวได้ปวารนาตัวเป็นอุบาสิกาดูแลเรื่อง<a href=http://www.dmc.tv/search/ภัตตาหาร title='ภัตตาหาร' target=_blank><font color=#333333>ภัตตาหาร</font></a>
 
อดีตภรรยาสาวได้ปวารนาตัวเป็นอุบาสิกาดูแลเรื่องภัตตาหาร
 
    “น้องจะมาถวายภัตตาหารให้หลวงพี่ทุกเช้าทุกเพลเลยนะจ๊ะ” “ไม่ต้องถือเป็นประจำนิตยภัตก็ได้โยม อาตมามิได้ขัดสนอะไร” แม้ภิกษุหนุ่มห้ามปรามไว้ก็ไม่เป็นผลดีขึ้นมาได้ นางผู้เป็นภรรยายังคงปฏิบัติตามแผนของตนอยู่เช่นนั้นสืบมา บางครั้งก็นำปัญหาการดูแลตนเองอย่างน่าเวทนามาให้พระพลอยมีจิตกังวลหม่นหมอง “น้องอยู่คนเดียวหาเลี้ยงตนได้ยากลำบาก บ้านช่องก็ขาดคนซ่อมแซม ตอนกลางคืนก็น่ากลั๊ว น่ากลัว อยากจะนิมนต์หลวงพี่กลับไปดูบ้าง”
 
อดีตภรรยาสาวได้นำเรื่อง<a href=http://www.dmc.tv/search/ทุกข์ title='ทุกข์' target=_blank><font color=#333333>ทุกข์</font></a>ใจมาเล่าเพื่อเรียกร้องความสนใจจากภิกษุ
 
อดีตภรรยาสาวได้นำเรื่องทุกข์ใจมาเล่าเพื่อเรียกร้องความสนใจจากภิกษุ
 
    เมื่อโดนรบเร้าบ่อยขึ้น สุดท้ายภิกษุใหม่ก็ทนไม่ไหว ยอมไปฉันอาหารที่บ้านบ้าง ไปๆ มาๆ กันได้ไม่นาน ภรรยาก็ปรับปรุงบ้านเรือนให้สดชื่นขึ้นเรื่อยๆ อารมณ์อันเกิดจากใจที่ไปสัมผัสสิ่งสดชื่นสวยงามก็เริ่มถูกโน้มเข้าสู่กับดักของหญิง นิมนต์คะหลวงพี่ เช้านี้น้องเตรียมอาหารที่หลวงพี่โปรดไว้ทั้งนั้นเลย
 
อดีตภรรยาสาวได้ถวายอาหารรสเลิศซึ่งล้วนเป็นของที่ภิกษุโปรดปรานทั้งสิ้น
 
อดีตภรรยาสาวได้ถวายอาหารรสเลิศซึ่งล้วนเป็นของที่ภิกษุโปรดปรานทั้งสิ้น
 
    ในที่สุดขันติของภิกษุหนุ่มก็ขาดลง “ฮืม..อนิจจาเห็นทีจะหนีกิเลสตัณหาไม่พ้นแน่แล้วหนอ เสียดายจริงๆ” กลางราตรีหนึ่ง สงฆ์สาวกรูปนี้จึงตัดใจขอลาสิกขาต่อพระพุทธองค์ ครั้นกราบทูลว่าจะขอลาจากเพศบรรพชิตออกไปครองคู่กับนางผู้เป็นภรรยา
 
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกัณฑินาชาดก
 
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกัณฑินาชาดก
  
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสดับเรื่องราวแล้วทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อภิกษุผู้ลุ่มหลงนั้น ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุเมื่อชาติก่อนโน้น หญิงผู้นี้ทำให้เธอสิ้นชีวิตมาแล้ว" ภิกษุหลายรูปในธรรมสภาจึงอาราธนาให้ทรงเล่าอดีตชาติเรื่องนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกัณฑินาชาดก ดังนี้
 
ฝูงกวางกระจัดกระจายหากินอยู่บริเวณที่ราบสูงเหนือชายป่า 
 
ฝูงกวางกระจัดกระจายหากินอยู่บริเวณที่ราบสูงเหนือชายป่า
 
    แคว้นมคธที่นี่ เมื่อกาลก่อนยังมีฝูงกวางกระจัดกระจายหากินอยู่เขตที่สูงในป่าติดกันกับชนบท ยามวสันตฤดูอาหารบนที่ราบสูงในป่าก็อุดมสมบูรณ์ เหล่ากวางหากินกันอย่างมีความสุข มนุษย์ซึ่งทำนาทำไร่อยู่เบื้องล่างก็ไม่ขึ้นมารังควาน "เร็วเข้าซิ ทางโน้นมีใบไม้อ่อนๆ เยอะเลย" "เดี๋ยวซิจ๊ะพี่ ทางนี้ก็มีเหมือนกัน" "ทางนี้ดีกว่า" เจ้ากวางสองตัวนั้นจะวิ่งไปกินที่ไหน แถวนี้อาหารก็มีเยอะแยะ
 
บรรดากวางทั้งหลายแอบมองข้าวของชาวนาริมชายป่าข้างล่าง
 
บรรดากวางทั้งหลายแอบมองข้าวของชาวนาริมชายป่าด้านล่าง
 
    จนกระทั่งหมดฝนเข้าชนฤดูแล้งที่แห้งผากยากต่อการหาอาหาร เหล่ากวางน้อยใหญ่ก็สุดจะทนอดอยากได้ พวกมันเฝ้ามองข้าวของชาวนาอย่างกระหาย "ดูซิข้าวในนา น่ากินจังเลย เห็นแล้วน้ำลายไหล" "นั่นนะซิ ในป่าที่พวกเราอยู่ก็แห้งแล้ง เนี่ยไม่ได้กินอะไรมาหลายวันแล้วหิวจนแสบท้องไปหมดเลย" "ข้าก็หิวเหมือนกัน เราแอบไปกินข้าวในนาสักหน่อยชาวนาอาจจะไม่รู้ก็ได้นะกินนิดกินหน่อยไม่เป็นไรหรอกมั้ง"
 
ด้วยความหิวกวางทั้งหลายต่างพากันลงมากินข้าวในนา
 
ด้วยความหิวกวางทั้งหลายต่างพากันลงมากินข้าวในนา
 
    เมื่ออาหารในป่าหายากเข้ากวางหลายตัวก็พากันลงมากินข้าวในนาจนเกิดความเสียหายไปทั่ว “ง่ำๆ ง่ำๆ อร่อยจังเลย ดีนะที่พวกเราตัดสินใจกินข้าวในนา ไม่งั้นคงหิวตายแน่เลย” “ไม่ใช่มีแต่พวกเราที่มาแอบกินหรอกนะ กวางตัวอื่นก็มาแอบกินกันเยอะแยะเต็มไปหมด" "ถ้าอย่างนั้นพวกเราต้องรีบกิน รีบหนีนะ เดี๋ยวชาวนามาเห็นเข้า” กวางทั้งหลายลงมากินข้าวนาอย่างอิ่มหนำหารู้ไม่ว่าชาวนาในหมู่บ้านกำลังจ้องจะกำจัดอย่างเอาเป็นเอาตาย
 
ชาวนามีความเคียดแค้นยิ่งนักเมื่อเห็นข้าวในนาเสียหาย
 
ชาวนามีความเคียดแค้นยิ่งนักเมื่อเห็นข้าวในนาเสียหาย
 
    “หนอย..พวกข้าทำงานกันแทบตาย เจ้ากวางพวกนี้มากินซะหมด เดี๋ยวเหอะข้าจะเหวี่ยงแหคลุมมันแล้วจะมัดมาเชือดกินซะให้หายแค้นเลย หื้อ” “ข้าวยังไม่ทันสุกได้เกี่ยวเลย ดูซิพวกกวางทำลายจนหมดแล้ว” “จัดการมันเลยพ่อ อย่าให้รอดไปได้สักตัวเลย” ชาวชนบททั้งหลายพากันแค้นพวกกวางจึงวางแผนกันตามภูมิปัญญาตัวซึ่งล้วนน่ากลัวทั้งสิ้น
 
ชาวนาคิดวางแผนที่จะกำจัดบรรดากวางทั้งหลาย
 
ชาวนาคิดวางแผนที่จะกำจัดบรรดากวางทั้งหลาย
 
     “เดี๋ยวเถอะให้มันลงมาในนาข้าวเราอีกเถอะนะ พ่อจะวางบ่วงและซุ้มยิงให้เกลี้ยงเลย หึ หึ หึ" "ส่วนข้าจะใช้เจ้านี่ตะครุบมันไว้เอาไปเป็นอาหารเย็นน่าจะดีนะ" เมื่อฝูงกวางถูกกำจัดบ่อยครั้งเข้าก็พากันเตลิดหนีขึ้นป่่าสูง ไม่ลงมาขโมยข้าวในนากินอีก
 
กวางหนุ่ม-กวางสาวซึ่งเพิ่งจะใช้ชีวิตร่วมกัน
 
กวางหนุ่ม-กวางสาวซึ่งเพิ่งจะใช้ชีวิตร่วมกัน
 
    บนป่าสูงขึ้นไปนั้นมีกวางหนุ่มซึ่งเกิดและโตในป่าลึกไกลผู้คนมาติดพันกวางสาวที่อาศัยอยู่ชายป่าติดเขตหมู่บ้าน ไม่นานทั้งสองก็ร่วมชีวิตกัน "กระเถิบมานอนใกล้ๆ พี่นี่ซิจ๊ะ เดี่ยวพี่จะคอยไล่แมลงให้น้องจะได้นอนหลับสบาย" "แหม..พี่ก็ แค่นี่ก็ยังใกล้ไม่พออีกหรือจ๊ะ"
 
กวางหนุ่มชวนกวางสาวลงไปหาอาหารยังชายป่าข้างล่าง
 
กวางหนุ่มชวนกวางสาวลงไปหาอาหารยังชายป่าข้างล่าง
 
    วันหนึ่งถึงคราวชะตาชีวิตพลิกผัน กวางตัวผู้เกิดอยากลงไปหาอาหารยังชายป่าข้างล่างขึ้นมา นางกวางสาวก็ไม่ได้ห้ามปราม "อืม..ข้าวกำลังโตเต็มคอรวงเขียวสดน่าเคี้ยวจัง รีบลงไปเถอะน้อง" "ได้ซิจ๊ะพี่จ๋า น้องก็กำลังอยากกินอยู่พอดีเลย" เนื่องจากกวางสาวเกิดและโตในบริเวณแถบนี้จึงเป็นผู้นำทาง โดยมีกวางสามีเดินตามหลัง เมื่อพ้นชายป่าออกทุ่งโล่ง เธอได้กระสากลิ่นมนุษย์ก็ชะลอฝีเท้าลงอย่างระมัดระวังแต่ก็มิได้ตักเตือนกวางหนุ่ม
 
กวางหนุ่มชวนกวางสาวไป
 
กวางสาวได้กระสากลิ่นมนุษย์ เธอก็ชะลอฝีเท้าลง
 
    "อุ๊ย..กลิ่นคุ้นๆ อื้ย..กลิ่นมนุษย์นี่ไปทางนั้นอันตรายแน่ๆ " "มาซิจ๊ะน้องจ๋า มัวช้าอยู่ทำไม เร็วๆ พี่หิวแล้ว" "ยิ่งเดินเข้าไปยิ่งกลิ่นแรง ไม่เอาดีกว่าเรา ขืนเข้าไปใกล้กว่านี้ซวยแน่ๆ" กวางตัวเมียปล่อยให้กวางตัวผู้ซึ่งมาจากป่าลึกไม่เคยรู้จักกลิ่นมนุษย์กระโจนลงไปแต่เพียงผู้เดียว "มาเร็วเข้าน้องรวงข้าวเขียวๆ กับหญ้าเพิ่งแตกยอดอ่อนเต็มไปหมดเลย เห็นเจ้าร่ำๆ ว่าอยากกินไม่ใช่เหรอ มาซิ ชักช้าพี่กินหมดเลยนะ"
 
กวางสาวได้กลิ่นมนุษย์ก็รีบหันหลังกลับโดยไม่ได้เตือนกวางหนุ่ม
 
กวางสาวรู้ว่าภัยจะมาถึงตัว ก็รีบหันหลังกลับโดยไม่ได้เตือนกวางหนุ่ม
 
    "เชิญกินไปตัวเดียวเถอะชั้นไม่อยู่แล้ว ตรงนี้มีนายพรานแน่ๆ กลิ่นฉุนกึกเลย ไว้เจอกันชาติหน้านะพี่นะ ไปก่อนล่ะ" นางกวางสาวไม่เพียงแต่หยุดเดิน หากยังหันหลังกลับแล้วตะกุยหนีอย่างเร็วอีกด้วย อาการเช่นนั้นของกวางสาวคือสัญญาณอันตรายของป่าที่สัตว์ทุกตัวรู้ดี แต่กวางหนุ่มก็ถล่ำลงมาจนไม่อาจแก้ไขให้พ้นอันตรายได้แล้ว
 
กวางหนุุ่มประจัญหน้ากับนายพรานอย่างไม่ทันตั้งตัว
 
กวางหนุุ่มประจัญหน้ากับนายพรานอย่างไม่ทันตั้งตัว
 
    "มาแล้วรึ เสร็จชั้นแน่เจ้ากวางเอ๋ย" "เฮ้ย..นั่นนายพรานนี่นาแอบซุ่มตั้งแต่เมื่อไหร่นี่ แย่แล้วเราหนีดีกว่า"  "หนีตอนนี้ก็ไม่ทันแล้ว" "เจ้ากวางเอ๋ย มา มารับลูกธนูซะดีๆ ตายซะเถอะเจ้ากวางตะกละ" "เฮ้ยไม่นะ!..โอ๊ย!!.ระยะใกล้บวกกับไม่มีที่กำบัง ลูกธนูแข็งแกร่งก็เสียบชำแหละปักคาต้นคอจนลึกสุดคมศร กวางหนุ่มล้มทั้งยืน แต่ยังตะกายหนีตามกวางสาว หนีขึ้นบนที่สูงไปจนได้"โอ๊ย..น้องจ๋าช่วยพี่ด้วย" กวางหนุ่มไม่สามารถทนพิษบาดแผลได้ ล้มลงด้วยพิษธนู
 
กวางหนุุ่มล้มทั้งยืนด้วยพิษลูกธนูที่ปักกลางลำคอ 
 
กวางหนุุ่มล้มทั้งยืนด้วยพิษลูกธนูที่ปักกลางลำคอ
 
    ความเจ็บปวดแผ่ไปทั่วร่าง ตรงบริเวณต้นไม้ใหญ่ต้นทางเข้าป่านั่นเอง รุกขเทวดาอันเป็นเทพประจำป่าก็แสดงร่างออกมาโปรดสัตว์ "ตั้งจิตเป็นกุศลไว้เถิดเจ้ากวางเอ๋ย อย่าได้เคียดแค้นสตรีต้นเหตุนี้เลย"
 
 
รุกขเทวดาเทพประจำป่า แสดงร่างโปรดกวางหนุ่ม
 
รุกขเทวดา เทพประจำป่า แสดงร่างโปรดกวางหนุ่ม
 
    รุกขเทพได้ติเตียนการตายนี้ 3 ประการคือ พรานผู้ยิงศร ภรรยาที่เป็นผู้นำทางและกวางสามีผู้ปล่อยตัวให้ตกในอำนาจสตรี จงเกิดในภพภูมิใหม่และอย่าได้สมเพชเพราะโง่เขลาดังชาตินี้ที่มาตายเพราะหลงติดในกามเลย
 
สมัยพุทธกาลต่อมา กวางหนุ่มกำเนิดเป็น พระภิกษุใหม่ผู้พ่ายแพ้กิเลสกาม
นางกวางสาวกำเนิดเป็น ภรรยาผู้อยากสึกพระ
รุกขเทวดาเสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โมรณัจจชาดก ว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ

 

พญาหงส์ตักเตือนนกยูงหนุ่มว่าควรจะมีหิริโอตัปปะในตนเอง
 
    ครั้นเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธรัฐแล้ว ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ อันมีฉายาว่าเบญจคีรี ที่มีภูเขาทั้ง 5_เป็นปราการมาประทับยังนครสาวัตถีในแคว้นโกศลนั้น แสงธรรมจากพระพุทธองค์ก็ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดินอนุทวีปให้พลังแก่ชีวิตดุจกันกับแสงทินกร
 
 แสงธรรมจากพระพุทธองค์ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดิน
 
 แสงธรรมจากพระพุทธองค์ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดิน
 
    เวลานั้นกุลบุตรจากทุกตระกูลหลั่งไหลกันเข้าบวชในพระพุทธศาสนาเพราะสัจธรรมอันวิเศษเป็นจำนวนมาก “หากเราได้บวชแล้วจิตใจเราคงสงบมากกว่านี้แน่ อยากจะบวชเร็วๆ จังเลย” “การรักษาศีล ฟังธรรม จิตใจช่างสงบดีแท้ หากเราบวชแล้วประพฤติธรรม จิตใจคงสงบมากกว่านี้”
 
กุลบุตรจากทุกตระกูลหลั่งไหลกันเข้าบวชในพระพุทธศาสนา
 
กุลบุตรจากทุกตระกูลหลั่งไหลกันเข้าบวชในพระพุทธศาสนา
  
    นอกจากนี้ก็ยังมีสมณะนักบวชหลายนิกาย เมื่อนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบกับความเชื่อของตน ก็บังเกิดปีติ หันมาถือศีล ปฏิบัติธรรมวินัย จนพระเชตะวันมหาวิหารมากมายไปด้วยสงฆ์สาวก
 
 
พราหมณ์ผู้มีโอกาสได้ฟังพระ<a href=http://www.dmc.tv/search/ธรรมเทศนา title='ธรรมเทศนา' target=_blank><font color=#333333>ธรรมเทศนา</font></a>ก็รู้สึกสงบมีความสุขใจ
 
พราหมณ์ผู้มีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาก็รู้สึกสงบมีความสุขใจ
 
    เช่นกันกับชายตระกูลพราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อมีโอกาสมาฟังธรรมเทศนาก็รู้สึกสงบมีความสุขใจ จึงรอโอกาสมาบวชอยู่เช่นกัน“บัดนี้ เมื่อภรรยาเราตายจากไปแล้ว เราก็คงหมดห่วงหมดกังวลกับทางโลกแล้ว เราคงถึงเวลาเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรตามความต้องการเสียที” พราหมณ์ผู้นี้มีฐานะดี กินอยู่สุขสบายจนเป็นนิจ จึงเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกไปใช้เป็นอย่างมาก
 
พราหมณ์ได้เตรียมเครื่องบริขารส่วนตัวมากมายเกินความจำเป็น
 
พราหมณ์ได้เตรียมเครื่องบริขารส่วนตัวมากมายเกินความจำเป็น
 
    “เอ เตรียมของครบหรือยังหน๊า กานี้สำหรับต้มน้ำ เหยือกนี้ไว้ใส่น้ำดื่มกิน อาหารเสริมก็มีแล้ว ทำไมตะกร้ายังดูโล่งๆ ขาดอะไรอีกหน๊า” นอกจากเตรียมเครื่องบริขารเกินจำเป็นแล้ว ก่อนเข้าเฝ้าขออุปสมบท พราหมณ์ยังนำช่างไปก่อสร้างกุฏิ โรงครัวส่วนตัว รอไว้ครบถ้วน
 
พราหมณ์ได้นำช่างของตนไปก่อสร้างกุฏิและโรงครัวส่วนตัว
 
พราหมณ์ได้นำช่างของตนไปก่อสร้างกุฏิและโรงครัวส่วนตัว
  
    “เอาล่ะๆ เสร็จแล้วก็มาเก็บกวาดซะให้สะอาดแล้วขนเฟอร์นิเจอร์มาได้” “ขอรับนายท่าน กระผมเกรงว่า โรงครัวจะเล็กเกินไป ไม่พอใส่ข้าวของ จะทำอย่างไรดีล่ะเนี่ย” “จะไปยากอะไรล่ะ เจ้าก็ไปบอกให้ช่างเนี่ย ให้เขาขยายโรงครัวให้ใหญ่ขึ้นสิ แต่ให้รีบๆ ทำหน่อยล่ะ เพราะฤกษ์บวชใกล้เข้ามาแล้ว”
 
ในที่สุดพราหมณ์หนุ่มก็ได้บวชตามที่ใจปรารถนา
 
ในที่สุดพราหมณ์หนุ่มก็ได้บวชตามที่ใจปรารถนา
 
    เมื่อใกล้ฤดูพรรษา พราหมณ์ผู้มีนิสัยสำรวยก็ได้รับพระกรุณาเป็นเอหิภิกขุอุปสมบทและอยู่จำพรรษาในกุฏิใหม่ของตน “ในที่สุด เราก็ได้บวชตามที่ใจปรารถนา จากนี้ไปคงได้ปฏิบัติธรรมให้จิตใจสงบได้เสียที” ภิกษุผู้รักสบายเมื่อบวชแล้ว นอกจากมีจีวรสวยงาม มีบริขารอุดมสมบูรณ์แล้ว ภิกษุใหม่รูปนี้ยังสั่งให้คนรับใช้ที่บ้านมาคอยบริการทั้งกลางวันกลางคืน “อาหารที่เราสั่งได้หรือยัง มาแล้วครับนายท่าน อุ่ย! ไม่ใช่สิ หลวงพี่”
 
ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของภิกษุใหม่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สงฆ์
 
ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของภิกษุใหม่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สงฆ์
 
    ความประพฤติของภิกษุสงฆ์รูปนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในหมู่สงฆ์ด้วยกัน “ภิกษุ ท่านเข้ามาบวชในศาสนาพุทธแล้ว ไยถึงไม่ละกิเลส ทำไมท่านถึงยังสะสมบริขารไว้มากมายเช่นนี้เล่า” “นั่นน่ะสิ เมื่อท่านยังรักความสบายอยู่อย่างนี้ แล้วเมื่อไหร่ท่านถึงจะบรรลุธรรมเล่า” “ไม่เอาหน่า หลวงลุง ท่านไม่มีเหมือนกระผมก็อย่าอิจฉาสิ กระผมเนี่ย จะบรรลุธรรมหรือไม่ มันก็เป็นเรื่องของกระผม พวกท่านไม่ต้องยุ่งหรอกหน่า”
 
ภิกษุผู้หลงในทรัพย์ ถูกนำตัวไปเฝ้าพระบรมศาสดา
 
ภิกษุผู้หลงในทรัพย์ ถูกนำตัวไปเฝ้าพระบรมศาสดา
    
    ภิกษุผู้หลงในทรัพย์บริขารของตน จึงถูกนำตัวไปเฝ้าพระบรมศาสดาในธรรมสภา เพื่อให้องค์ศาสดาทรงตำหนิและให้สติเพื่อปลุกสำนึกในพระวินัยอันดีในเวลานั้น “ดูก่อนภิกษุ เธอมีโอกาสศึกษาพระธรรมอันดี สมควรอยู่ในวินัยสมณะ ไม่ผิดวินัยเช่นนี้”อนิจจา! พระกรุณาธิคุณนั้น กลับทำให้ภิกษุผู้มีกรรม บังเกิดความโกรธผุดลุกขึ้นกระชากจีวรออกจากร่างทันที “วินัยสมณะที่แท้ก็แค่ผ้าเหลืองเท่านั้น หึ! ถ้ากระผมถอดออกก็ถือเป็นอิสระใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นน่ะ ก็เหลือวินัยข้อเดียวตามใจตัวเองเป็นดีที่สุด ฮ่าๆๆ”“เฮ้อ! ไม่น่าเลย พระองค์ทรงเตือนแล้ว ยังไม่สำนึกอีก”
 
ภิกษุใหม่โกรธจนลืมตัว ถอดจีวร ถอดอังสะ
 
ภิกษุใหม่โกรธจนลืมตัว ถอดจีวร ถอดอังสะ
 
    ภิกษุใหม่เคยต่อความสุขสบายมานาน เมื่อถูกทำให้อับอายก็โกรธจนลืมตัว ถอดจีวร ถอดอังสะ ยืนอุจาดกลางที่ประชุมอย่างขาดหิริโอตัปปะ “ฮ่าๆๆ เห็นไหม เมื่อเราถอดผ้าออกก็ถือว่าอิสระ ใครก็กล่าวโทษเราไม่ได้ ฮ่าๆๆ” “โอ้! ช่างไม่รู้จักอับอายบ้างเลย เฮ้อ” “ดูสิ ถูกตักเตือนอยู่แท้ๆ ยังไม่รู้ผิดอีก เฮ้อ! ไม่ได้เรื่อง”
 
พระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาในธรรมสภาต่างก็ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง
 
พระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาในธรรมสภาต่างก็ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง 
  
    การกระทำที่น่าอับอายนี้ อุบาสก อุบาสิกาและพระภิกษุทั้งหลายในธรรมสภาต่างไม่พอใจ จึงว่ากล่าวและบริภาษอย่างรุนแรงจนต้องหนีออกจากพระเชตวันไป สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสอดีตชาติของพระภิกษุผู้ไม่ละอายขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ในโมรณัจจชาดกดังต่อไปนี้
 
ธิดาพญาหงส์ ที่มีความสวยงามยิ่งนัก
 
ธิดาพญาหงส์ ที่มีความสวยงามยิ่งนัก
 
    อดีตกาลย้อนไปแต่ครั้งต้นกัป ครั้งที่โลกยังสวยงามและอุดมสมบูรณ์ หมู่สัตว์ทั้งหลายต่างเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ล่วงเกินกล่าวร้ายกัน เช่นคนในวันนี้ ในหิมพานต์ป่าใหญ่ครั้งนั้น ยังมีพญาหงส์เป็นหัวหน้าหมู่นกทั้งปวง คราวหนึ่งถึงเวลาการมีคู่ครองของธิดาพญาหงส์ ซึ่งเจริญวัยเป็นสาวและสวยงามกว่าวิหกใดๆ
 
พญาหงส์ใคร่ครวญว่าถึงเวลาแล้วที่ธิดาของตนควรจะมีคู่ครอง
 
พญาหงส์ใคร่ครวญว่าถึงเวลาแล้วที่ธิดาของตนควรจะมีคู่ครอง
 
    “ลูกของเราเนี่ย ช่างงามแท้ๆ เฮ้อ! ถึงเวลาหาคู่ให้ลูกของเราแล้วล่ะสิเนี่ย คิดไปก็ใจหาย ไม่อยากให้จากอกพ่อไปเลย เฮ้อ”“เราเป็นสาวเต็มตัวแล้วหรือเนี่ย ถึงเวลาที่จะมีคู่แล้วสิ คิดแล้วก็ตื่นเต้น เนื้อคู่เราจะเป็นนกเช่นใดนะ” เมื่อพญาหงส์ประกาศให้นกหนุ่มๆ ทั้งหลายมาชุมนุมกันเพื่อเลือกคู่ ธิดาซึ่งเป็นสาววัยกำดัด ก็ยิ่งงดงามจนชื่อเสียงกำจรขจาย เป็นที่ใฝ่ปองของนกทั้งหิมพานต์
 
เมื่อถึงวันนัดหมาย บรรดานกทั้งหลายต่างก็มารวมตัวกัน
 
เมื่อถึงวันนัดหมาย บรรดานกทั้งหลายต่างก็มารวมตัวกัน
 
    “สวยๆ อย่างเรา ก็ต้องได้คู่ที่ดี เหมาะกับเราเท่านั้น พ่อประกาศหาคู่ให้เราเช่นนี้ นกหนุ่มๆ น้อยใหญ่ก็คงแห่มาเพียบสินะ เฮ้อ! เราจะเลือกนกเช่นไรมาเป็นคู่ดีนะ” ครั้นถึงวันนัดหมาย นกทั้งหลายก็พากันบินมารวมกันกลางลานเลือกคู่ เร็วเข้าๆ ใครร่อนลงก่อนน่ะ ก็มีสิทธิ์ได้ดูตัวก่อนนะ ไม่รอใครแล้ว ธิดาหงส์ต้องเป็นคู่เราเท่านั้น”
 
เจ้ากาหนุ่มก็มาร่วมงานด้วยเช่นกัน
 
เจ้ากาหนุ่มก็มาร่วมงานด้วยเช่นกัน
 
    “อย่าโม้ไปหน่อยเลยหน่า เราต่างหากที่คู่ควรกับธิดาหงส์น่ะ” ไม่ช้าบริเวณรายรอบลานป่าที่พญาหงส์ใช้เป็นที่ชุมนุมก็มีเหล่านกทั้งหลายมารอกันมากมาย “โห! มีนกหนุ่มๆ มากันเพียบเลย อยากรู้จังว่าธิดาหงส์น่ะ หญิงในดวงใจของเรา จะชอบนกเช่นไร” “ก็ต้องเป็นนกที่สง่างามอย่างข้านี่แหละ”
 
พญาแร้งก็วาดหวังยิ่งนักที่จะได้ครองรักกับธิดาพญาหงส์
 
พญาแร้งก็วาดหวังยิ่งนักที่จะได้ครองรักกับธิดาพญาหงส์
 
    “เฮอะ อย่างเจ้านี่หรอ สง่างาม ถ้านกอย่าเจ้าสง่างามน่ะ ก็คงไม่มีนกตัวใดขี้ริ้วขี้เหร่แล้วล่ะ” เนื่องด้วยความงามอย่างเพียบพร้อมของหงส์สาว ทำให้มีนกหนุ่มๆ มากมาย ใฝ่ฝัน อยากเป็นคู่ “ถ้าเพียงแต่ได้น้องมาครองคู่ ชีวิตนี้พี่ก็ไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้ว ขอให้เป็นเราทีเถอะ ที่จะได้เคียงคู่กับน้องธิดาหงส์” “พญาแร้งหนุ่มอย่างเรา โดดเดี่ยวอยู่ในภูเขานี้มาก็หลายปี
 
บรรดานกหนุ่มน้อย หนุ่มใหญ่หลากชนิดต่างมารวมตัวกันกลางลาน
 
บรรดานกหนุ่มน้อย หนุ่มใหญ่หลากชนิดต่างมารวมตัวกันกลางลาน
 
    ถ้าได้ธิดาหงส์มาครองรักนะ หุบเขาแห่งนี้ก็คงไม่เปลี่ยวปล่าว เหงา เดียวดาย อย่างเช่นเคยแน่นอน โลกของเรานี่มันก็ต้องมีแต่สีชมพู มองไปทางไหนก็คงอบอุ่นไปด้วยความรักเต็มไปหมด ง่า” “กาดำอย่างเรา ถึงตัวจะดำแต่ใจก็ไม่ดำ หวังว่าธิดาหงส์น่ะ คงจะมองผ่านความดำเข้ามาถึงจิตใจอันงดงามของเราบ้าง เฮ้อ! ตื่นเต้นจริงๆ เลย ปีนี้หวังว่า จะได้สละโสดกับเขาซะที”
 
ธิดาพญาหงส์พึงพอใจในความสง่างามของนกยูงตัวหนึ่ง
 
ธิดาพญาหงส์พึงพอใจในความสง่างามของนกยูงตัวหนึ่ง
 
    เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ธิดาพญาหงส์ก็แสดงความพึงพอใจ นกยูงหนุ่มตัวหนึ่ง “อุ้ย! ตายล่ะ ดูพ่อนกยูงตัวนั้นสิ ช่างงามสง่ายิ่งนัก ถูกใจเราเหลือเกิน” “เหอะๆๆๆ ธิดาหงส์มองมาทางเราอย่างชื่นชม วางท่าสง่างามไว้ งานนี้มีเฮแน่ เหอะๆๆๆ” เมื่อธิดาหงส์เลือกนกยูงหนุ่มมาเป็นคู่ ผู้เป็นพ่อจึงเชิญให้นกยูงผู้โชคดีออกมาแสดงตัวแก่เหล่าวิหคทั้งหลาย “โอ้โห อือหือ ช่างสง่างามยิ่งนัก ตัวดำๆ อย่างเราเนี่ย ก็คงต้องเหงาเหมือนเคย เฮ้อ! ไม่เจียมตัวจริงๆ เลย”
 
บรรดานกทั้งหลายต่างชื่นชมในความเหมาะสมของนกทั้งสอง
 
บรรดานกทั้งหลายต่างชื่นชมในความเหมาะสมของนกทั้งสอง
 
    “ช่างน่าปลาบปลื้มใจแทนเขาทั้งสองคน เหมาะสมกันยิ่งนัก” “เหอะๆๆๆ ดูสิ เหล่านกพวกเนี้ย ล้วนชื่นชมเรากันทั้งนั้น เฮ้อ! เกิดมาหล่อ สง่างามก็อย่างนี้แหละ” อันนกยูงนั้น มันลำพองในความงามของขนหางอยู่แล้ว ครั้นได้รับเกียรติ ได้รับคำเยินยอเข้า นิสัยอยากอวดก็กำเริบขึ้น “เหอะๆๆๆๆ เจ้านกทั้งหลายพวกนั้นน่ะ คงชื่นชอบความงามของขนหางเราล่ะสิ คอยดูเถอะ เราจะทำให้นกพวกนั้นน่ะ ต้องตาค้างเพราะความงามของเรา”
 
นกยูงมีความลำพอง อวดกำเริบในความงามของตน
 
นกยูงมีความลำพอง อวดกำเริบในความงามของตน
 
    นกยูงหนุ่มเชิดคอตั้ง ออกไปกลางลานโล่ง แล้วโชว์ขนหางออกลำแพน หันไปหันมา อวดของดีในตัวอย่างไม่อายใคร “นี่ ดูซะก่อน เจ้านกทั้งหลาย ขนของเรางามกว่าที่พวกเจ้าคิดไว้ตั้งเยอะ หันก้นไปทางโน้นหน่อยดีกว่า จะได้มองเห็นรอบๆ” “อุ้ย น่าเกลียดจริงๆ นกอะไรไม่รู้จักกาลเทศะเลยนะเนี่ย เฮ้ย กาดำอย่างเราน่ะ ถึงรูปจะไม่งาม แต่ก็ไม่เคยมีนิสัยอย่างนี้หรอกนะ” “นั่นนะสิ เสียดายธิดาหงส์จริงๆ ไม่น่าเลือกนกอย่างนี้เลย”
 
นกทั้งหลายต่างผิดหวังในพฤติกรรมของนกยูง
 
นกทั้งหลายต่างผิดหวังในพฤติกรรมของนกยูง
 
    “คิดได้ไง กางขนออกมา ไม่อายนกตัวอื่นๆ บ้างเลย” “ไม่รู้จักอายแบบเนี่ย เลือกแร้งอย่างเราซะดีกว่า แกว่าไหม” “นั่นน่ะสิ ลูกพี่รูปไม่หล่อ แต่นิสัยดีกว่านี้อีก” พญานกเมื่อเห็นพฤติกรรมนกยูงก็ทนขัดเคืองไม่ไหว “เธอขาด หิริ คือความไม่ละอายใจ ขาดโอตัปปะ คือความไม่เกรงคำนินทา จึงทำให้ประจานตนอย่างนี้ เธอคงไม่เหมาะที่จะเป็นคู่กับธิดาของเราแล้วล่ะ”
 
พญาหงส์ขัดเคืองใจและได้ตักเตือนในการกระทำที่ไม่เหมาะสมของนกยูง
 
พญาหงส์ขัดเคืองใจและได้ตักเตือนในการกระทำที่ไม่เหมาะสมของนกยูง
  
    “โธ่ ไม่น่าเลยเรา อยู่ดีไม่ว่าดี รู้เงี้ยะ ยืนเฉยๆ ก็ดี ฮือๆๆๆ ธิดาหงส์ของพี่” นกยูงถูกขับไล่ออกไปแต่บัดนั้น หงส์น้อยแสนสวย ถูกยกให้เป็นคู่กับหงส์หนุ่มที่มาเลือกคู่ด้วยความเหมาะสม ก็ได้ครองรักอยู่กินกันไปจนสิ้นอายุขัย
 
ธิดาหงส์ได้เลือกหงส์หนุ่มมาเป็นคู่ชีวิตของตน
 
ธิดาหงส์ได้เลือกหงส์หนุ่มมาเป็นคู่ชีวิตของตน
 
“หือ ดีใจจังที่ได้พี่หงส์มาเป็นคู่ คราวนี้น้องเลือกคู่ไม่ผิดจริงๆ” “พี่จะคอยดูแลเจ้าให้มีความสุขเองจ้า”
 
นกยูง ได้กำเนิดเป็น ภิกษุผู้ขาดหิริโอตัปปะ
พญานก เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า